26 ตุลาคม, 2550

กรณีศึกษาระบบโลจิสติกส์

กรณีศึกษาระบบโลจิสติกส์ของธุรกิจค้าปลีก (โดย ดร.ฐาปนา บุญหล้า บริษัทแอดว้านซ์ บิซิเนส ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด)

ชื่อกิจการ: บริษัท ซี.พี.เซเว่นอีเลฟเว่น จำกัด(มหาชน)
ผู้ร่วมทุน: ซี.พี.กรุ๊ป
ประเภทธุรกิจ: การค้าปลีก
เริ่มดำเนินการ: 10 พฤษภาคม 2532
ผู้ก่อตั้ง: นายธนินท์ เจียรวนนท์
สำนักงานใหญ่: ถนนสีลม กรุงเทพฯ
ยอดขาย: 26,000 ล้านบาท (พ.ศ. 2543)

แนวคิดธุรกิจ

เซเว่นอีเลฟเว่นมีประวัติยาวนานเกือบหนึ่งศตวรรษ ก่อกำเนิดขึ้นมาจากแนวคิดของ จอห์น เจฟเฟอร์สัน กรีน หรือ อังเคิล จอห์นนีย์ ในปี พ.ศ. 2470 ก่อนจะใช้ชื่อ เซเว่นอีเลฟเว่น ผู้เริ่มต้นบุกเบิกได้จัดตั้ง บริษัทเซาธ์แลนด์ไอซ์คัมปะนี ที่เมืองดัลลัส มลรัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา ดำเนินธุรกิจจำหน่ายน้ำแข็งที่ใช้สำหรับเก็บอาหารในการขนส่ง รวมทั้งเพื่อใช้บริโภค จากนั้นในปี พ.ศ. 2489 ก็ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น เซเว่นอีเลฟเว่น (7-ELEVEN) เพื่อชี้บอกเวลาเปิดดำเนินการของร้านค้ายุคนั้น ตั้งแต่ 7 โมงเช้าถึง 5 ทุ่มทุกวัน

เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2531 ผู้นำซีพีกรุ๊ปตัดสินใจเซ็นสัญญาซื้อลิขสิทธิ์ยี่ห้อ เซเว่นอีเลฟเว่น ต่อมาวันที่ 10 พฤษภาคม 2532 ได้จดทะเบียนในนามบริษัท ซี.พี.เซเว่นอีเลฟเว่น จำกัด(มหาชน) ตลอดระยะเวลา 13 ปี ของการดำเนินงาน ซี.พี.เซเว่นอีเลฟเว่น มีสาขากระจายไปทั่วประเทศกว่า 2,000 สาขา (พ.ศ. 2543) ด้วยปรัชญาที่ว่า ก้าวหน้าด้วยคุณภาพ ด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำยุค และบริการที่เป็นเลิศ จำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคกว่า 3,000 ชนิด มียอดขายประมาณปีละ 20,000-26,000 ล้านบาท

เซเว่นอีเลฟเว่น ซัพพลายเชน
การหาความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภคในสินค้าและบริการ มีการร่วมมือกันระหว่างผู้ค้าปลีกกับสำนักงานใหญ่ ซี.พี. ประมวลผลผ่านระบบคอมพิวเตอร์ออนไลน์ แล้วจัดส่งข้อมูลความต้องการล่วงหน้าไปยังผู้ผลิตที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดส่งสินค้ามายังศูนย์กระจายสินค้า “แม็คโค” แล้วกระจายไปยังร้านค้าเซเว่นอีเลฟเว่นทุกแห่ง สัปดาห์ละครั้งด้วยปริมาณที่เหมาะสมกับความต้องการ หน้าที่หลักของร้านค้าคือ การขายรับชำระเงินสด และการจัดสินค้าหน้าร้านตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ การเติมเต็มสินค้ารอบใหม่โดยผู้ผลิตจะกระทำอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้บริโภคมีสินค้าอยู่ตลอดเวลาและสะดวกซื้อที่สาขาใกล้บ้าน บางสาขายังมีบริการจัดส่งถึงบ้านด้วย เป็นการอำนวยความสะดวกยิ่งขึ้นสำหรับลูกค้าประจำที่ซื้อจำนวนมาก
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

1. การบริหารและวิธีการขยายสาขาเพื่อประสิทธิภาพและเหนือผู้แข่งขัน มีการกำหนดตัวแบบการบริหารและการจัดการสมัยใหม่จากบริษัทเซาธ์แลนด์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวคือ โครงสร้างองค์การแนวราบ ระบบการทำงาน ระบบเอกสาร ระบบสนับสนุนด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ มุ่งพัฒนาคนควบคู่กับวิทยาการจัดการสมัยใหม่ กำหนดงานให้เหมาะสมกับคน และกำหนดคนให้เหมาะสมกับงาน

2. การขยายสาขาด้วยระบบแฟรนไชส์ เพื่อสนองนโยบายขยายสาขาอย่างรวดเร็วตั้งแต่ พ.ศ. 2534 บริษัท ซี.พี.เซเว่นอีเลฟเว่น จำกัด ได้เปิดระบบแฟรนไชส์ ขยายสาขาไปทั่วประเทศด้วยยุทธศาสตร์แบบจากเมืองสู่ป่าโดยใช้ป่าล้อมเมือง ขยายสาขาออกไปสู่ต่างจังหวัดทั้งที่เป็นชุมชนในเมืองใหญ่และชานเมืองโดยประสานวิธีการ 3 ประการเข้าด้วยกัน

ประการที่ 1 บริษัท ซี.พี.เซเว่นอีเลฟเว่น จำกัด เป็นผู้ลงทุนขยายสาขาเองร้อยเปอร์เซนต์
ประการที่ 2 มีการร่วมทุนกับนักลงทุนท้องถิ่นในลักษณะแฟรนไชส์ ซึ่งเป็นการร่วมลงทุนระหว่างบริษัทกับผู้สนใจ
ประการที่ 3 เปิดให้ร้านผู้ค้าส่งหรือผู้ประกอบการค้าปลีกรายใหญ่หรือนักลงทุนหน้าใหม่ ที่ไม่เคยประกอบธุรกิจการค้าปลีกมาก่อนได้รับสิทธิช่วงใน อาณาเขต เรียกย่อ ๆ ว่า ระบบแฟรนไชส์ซีซัพเอเยนต์

3. การสนับสนุนช่วยเหลือแฟรนไซส์ชี บริษัท ซี.พี.เซเว่นอีเลฟเว่น จำกัด ให้ความช่วยเหลืออย่างใกล้ชิดแก่แฟรนไซส์ ดังนี้
· ให้ความช่วยเหลือในการบริหารงาน ได้แก่ ระบบการเงิน การจัดสต็อกสินค้า การคัดเลือกสินค้า การฝึกอบรมพนักงาน เป็นต้น
· การจัดส่งเจ้าหน้าที่ของบริษัทไปช่วยในการจัดวางสินค้าแก่ร้านที่เปิดใหม่ในช่วง 2 เดือนแรก
· ให้ยืมอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบธุรกิจตลอดอายุของสัญญาโดนร้านค้าต้องร่วมรับผิดชอบค่าบำรุงรักษา
· วางแผนการตลาดด้านการโฆษณา การออกแบบร้าน และการจัดการส่งเสริมการขาย

4. กลยุทธ์ทางการค้าแบบใหม่
กลยุทธ์ที่1 ผสมผสานระหว่างจุดเด่นของร้านโชวห่วยกับร้านสะดวกซื้ออย่างผสมกลมกลืน
กลยุทธ์ที่2 เลือกทำเลที่ตั้งร้านให้เหมาะสมและจัดวางสินค้าอย่างเป็นระบบระเบียบง่ายแก่การเลือกซื้อ
กลยุทธ์ที่3 คนคือหัวใจสำคัญของเซเว่นอีเลฟเว่น สร้างความเป็นเลิศด้วยการทำงานเป็นทีม
กลยุทธ์ที่4 รวมคนเก่งและซื่อสัตย์ เน้นวิธีการกระจายอำนาจ
กลยุทธ์ที่5 เผชิญหน้ากับการแข่งขันอย่างไม่หวั่นเกรงด้วยนโยบายก้าวกระโดดอย่างรวดเร็ว ขยายสาขาอย่างรีบเร่ง
กลยุทธ์ที่6 จากเมืองสู่ป่า ใช้ป่าล้อมเมือง
กลยุทธ์ที่7 ปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์สามารถเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส
กลยุทธ์ที่8 เพิ่มยอดจำหน่ายเพิ่มรายได้และลดต้นทุนค่าใช้จ่าย
กลยุทธ์ที่9 ใช้เทคโนโลยีที่ก้าวล้ำยุคและการบริหารทุกระดับประทับใจ

สุดท้าย: หากมีผู้สนใจต้องการทราบสาระน่ารู้การนำเข้าส่งออกเกี่ยวกับคำศัพท์ การขนส่งทางทะเล การขนส่งสินค้าทางอากาศ การประกันภัยขนส่งสินค้ากับการค้าระหว่างประเทศ เงื่อนไขการชำระค่าสินค้า การชำระเงินผ่านธนาคาร การนำสินค้าเข้า พิธีการศุลกากรและการประเมินอากรสินค้าขาเข้า การส่งสินค้าออก มาตรการส่งเสริมการส่งออกทางด้านภาษี และกฎหมายศุลกากรของไทยที่ควรทราบ ติดต่อสอบถามผู้เขียนได้ผ่านสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)

ที่มา http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?passTo=f241731bd26874e0a13071a66b4f289d&pageid=4&bookID=589&read=true&count=t

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

กรณีศึกษาการใช้ผู้ให้บริการภายนอกด้านการผลิต เพื่อที่จะทำความเข้าใจได้ง่ายเกี่ยวกับห่วงโซ่อุปทานแบบซ้ำซ้อน (Complicated Supply Chain) จึงได้ยกตัวอย่างธุรกิจประกอบรถยนต์ ซึ่งถือเป็น Core Customer Center โดยมีกลุ่มธุรกิจอื่นๆ ซึ่งเป็นผู้ให้บริการภายนอกเป็นผู้ผลิตประกอบชิ้นส่วนให้ ซึ่งอาจจะพอแยกแยะเป็นตัวอย่าง ได้ดังนี้
ผู้ผลิตเครื่องยนต์
ผู้ผลิตตัวถัง
ผู้ผลิตเบาะนั่ง
ผู้ผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์
ผู้ผลิตยางรถยนต์
ผู้ผลิตล้อแมกซ์

จากกรณีศึกษาโดยใช้ของธุรกิจประกอบรถยนต์ จะเห็นได้ว่า ประกอบด้วย Supplier หรือ Vendor ถึง 6 Suppliers โดยแต่ละ Supplier ต่างก็มีห่วงโซ่อุปทานของตัวเอง เช่น ผู้ผลิตตัวถัง ซึ่งเป็น Supplier ให้กับโรงงานผู้ผลิตประกอบรถยนต์ ก็ต้องมีกระบวนการคาดคะเนความต้องการของการขายรถยนต์ SALE FORECASTING ซึ่งเป็นหนึ่งในกระบวนการการตลาด โดยการนำผลของการคาดคะเนนั้นมาวิเคราะห์ เพื่อนำมาสู่กระบวนการจัดหาจัดซื้อแผ่นเหล็ก (STEEL PLATE) ตามเกรดและ มาตรฐานที่บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ต้องการ รวมถึงหาวัสดุอื่นๆ เช่น สี LACQUERเป็นต้น ซึ่งจะต้องมีกระบวนการเคลื่อนย้าย (MOVING) , ขนส่ง (TRANSPORT) , จัดเก็บ (STORAGE) จนไปถึงกระบวนการผลิต (PRODUCTION) ปั้มออกมาเป็นรูปตัวถังรถยนต์ตามรุ่นหรือ MODEL ซึ่งผู้ผลิตรถยนต์มีกระบวนการกระจายสินค้า (DISTRIBUTION) ไปสู่โรงงานผู้ผลิตรถยนต์ ซึ่งจะเห็นได้ว่าเฉพาะในอุตสาหกรรมผลิตตัวถังก็มี SUPPLIER ที่จัดหาวัตถุดิบและมีกระบวนการ SUPLLY CHAIN เป็นห่วงโซ่อุปทาน โดยมีผู้ซื้อคือผู้ผลิตตัวถังรถยนต์เป็น CUSTOMER CENTER อยู่ตรงกลางของห่วงโซ่นั้น โดยทั้งกระบวนการจะต้องดำเนินกิจกรรม (PROCESS) บนความพอใจของโรงงานผู้ผลิตตัวถังรถ ซึ่งผู้ผลิตตัวถังรถก็เป็นหนึ่งในกระบวนการของห่วงโซ่อุปทานของผู้ผลิตและประกอบรถยนต์ ซึ่งก็จะต้องดำเนินกิจกรรมโดยตั้งอยู่บนความพอใจของลูกค้า ก็คือ โรงงานผู้ผลิต-ประกอบรถยนต์นั่งเอง ซึ่งจากตัวอย่างที่ยกมา เฉพาะในโรงงานผู้ผลิตรถยนต์อย่างน้อย ก็ต้องมี 6 ห่วงโซ่ อุปทานที่ซับซ้อนกัน โดยทุกห่วงโซ่ที่ซับซ้อนกันนั้น ต่างตั้งมั่นบนความพอใจของโรงงานผู้ประกอบรถยนต์เป็นสำคัญ

จากการที่กล่าวมาข้างต้น ก็เพื่อจะนำเสนอให้เห็นว่าในกระบวนการธุรกิจปัจจุบันเห็นความสำคัญของห่วงโซ่อุปทาน ในฐานะเป็นกลยุทธ์เพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขัน (COMPETITIVE STRATEGY) โดยห่วงโซ่อุปทานที่จะประสบความสำเร็จนั้นต้องอาศัยพลวัตของ LOGISTICS ที่มีประสิทธิภาพในการเป็นห่วงโซ่ประสานแต่ละกระบวนการของ SUPPLY CHAIN ให้ขับเคลื่อน ซึ่งความต้องการของลูกค้าในอนาคตนั้น นอกเหนือจากการส่งเสริมด้านการบริการและประสิทธิภาพการผลิตเพื่อหวังผลการประกอบการที่ดี เป็นการตอบแทนแล้ว ยังหวังให้เพิ่มสมรรถนะในการแข่งขันให้เหนือกว่าคู่แข่ง จึงต้องมีการให้ความสนใจในการเพิ่มสมรรถนะของ LOGISTICS และเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งจะต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถปรับตัวรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป (MANAGEMENT CHANGE) โดยการบริหาร SUPPLY CHAIN อย่างมี ประสิทธิภาพ สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ การจัดวางเทคโนโลยีของการสื่อสาร โดยมีการวางเครือข่ายในแต่ละช่วงต่อของห่วงโซ่อุปทานในการ Cargoes Moving เพื่อให้การ ขนส่งวัตถุดิบและการกระจายสินค้าสามารถแก้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นได้อย่างทันทีทันใด ทำให้ FLOW ของสินค้า เป็น JUST IN TIME โดยมีต้นทุนที่ต่ำสุดและเป็นที่พอใจของลูกค้ามากที่สุด

หลักการที่สำคัญสำหรับการใช้ Outsources ให้ประสบความสำเร็จ คือ ต้องรู้จักเลือกใช้ Outsources ที่มีความชำนาญแต่ละงาน โดยองค์กรจะทำหน้าที่เป็นผู้คุมเกมหรือเป็นกัปตันทีม พนักงานที่เกี่ยวข้องต้องรู้จักเรียนรู้จากผู้ให้บริการภายนอกในฐานะมืออาชีพ การเรียนรู้ทำให้รู้ แต่การอวดรู้ทำให้ไม่รู้ การที่ทำงานในบริษัทใหญ่ไม่ใช่หมายความว่าตัวคนที่ทำงานจะใหญ่ตามบริษัทฯ จำไว้ว่ายิ่งบริษัทใหญ่ ตัวคนในองค์กรก็จะยิ่งเล็ก ความสำเร็จหรือผลงานจะยิ่งใหญ่ได้ คือ ต้องรู้จักเลือกใช้ Outsources ในฐานะ “Business Partner”

ที่มา http://www.v-servegroup.com/new/documment.php?Bookno=146
โดย ธนิต โสรัตน์

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


กรณีศึกษาในธุรกิจสัก 3 แห่ง ดังนี้

กรณีศึกษาแรก ค่ายกระทิงแดง
ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมัน จึงเร่งศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยการปรับแผนการด้านการขนส่งและกระจายสินค้าผ่านทางรถไฟและเรือ ทดแทนการขนส่งสินค้าทางรถยนต์ เนื่องจากทำเลที่ตั้งของโรงงานผลิตตั้งอยู่ในจังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งมีพื้นที่ติดกับแม่น้ำ จึงทำให้สามารถปรับเปลี่ยนวิธีการขนส่งได้ในทันที ประกอบกับการขนส่งทางรถไฟยังช่วยสร้างความได้เปรียบ ในแง่ของต้นทุนที่ต่ำกว่า การลดค่าใช้จ่ายภายในองค์กรนี้ ยังรวมถึงแผนการลดต้นทุนในงานด้านอื่นๆ ด้วย อาทิ ในส่วนของกระบวนการทำงานที่มีจำนวนพนักงานมากเกินความจำเป็น การเก็บข้อมูลที่มากเกินความต้องการ กระบวนการทำงานที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ทางธุรกิจ เช่น การเก็บเงินสดแทนการขยายระยะเวลาชำระเงิน การเพิ่มมาตรการการประหยัดไฟฟ้าหลังเวลาทำงานปกติ เป็นต้น

กรณีศึกษาที่สอง
บริษัท ไทยเพรสซิเดนท์ฟู้ดส์ จำกัด(มหาชน) ซึ่งประสบปัญหาการขึ้นราคาน้ำมันปาล์ม ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป โดยมูลค่าน้ำมันปาล์มคิดเป็นสัดส่วน 13% ของต้นทุนรวม และมีแนวโน้มว่าราคาการปรับตัวจะสูงขึ้นเรื่อยๆ จากการเก็บข้อมูลของบริษัทพบว่าใช้น้ำมันปาล์มประมาณเดือนละ 1,300 ตัน โดยราคาน้ำมันปาล์มกิโลกรัมละ 20 บาท ถ้าหากว่ามีการปรับราคาขึ้นไปเป็นกิโลกรัมละ 30 บาท เหมือนกับช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ก็ย่อมจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตทันที

ซึ่งผลกระทบนี้ไม่ได้เกิดเฉพาะอุตสาหกรรมบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเท่านั้น แต่ยังกระทบถึงอุตสาหกรรมการผลิตนมข้นหวาน สบู่ และขนมขบเคี้ยวด้วย ทางบริษัทได้พยายามปรับการบริหารจัดการเพื่อลดต้นทุนการประกอบการลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำคอนเซ็ปต์ของคลัสเตอร์และโลจิสติกส์มาใช้เพื่อลดต้นทุนการบริหารจัดการตลอดเวลา ล่าสุด บริษัทได้ซื้อเครื่องจักรใหม่สำหรับผลิตถ้วยกระดาษจากประเทศเกาหลี และนำไปติดตั้งที่นิคมอุตสาหกรรมจังหวัดลำพูน ซึ่งจะทำให้เกิดการลดต้นทุนค่าขนส่งลงได้ถึง 75% แทนที่จะขนส่งจากโรงงานกรุงเทพฯ

กรณีศึกษาสุดท้ายคือ
บริษัท สยามแฟมิลี่ มาร์ท จำกัด ที่มีแผนการลงทุนขยายสาขาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอีก 2 ปีข้างหน้า โดยตั้งเป้าขยายสาขาจาก 515 สาขา เป็น 600-700 สาขา ภายในสิ้นปี 2548 และเพิ่มเป็น 1,000 สาขา ภายในปี 2550 โดยรูปแบบการขยายสาขาจะเป็นแบบลงทุนเองทั้งหมด เพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการขยายสาขา และสร้างความแข็งแกร่งให้ธุรกิจ โดยบริษัทจะหาพันธมิตรทางธุรกิจในกลุ่มอาหารเข้ามาให้บริการลูกค้าได้มากขึ้น
นอกจากนี้ บริษัทยังได้ตั้งบริษัท เอสดีซีเอ็ม จำกัด (Siam Demand Chain Management) ซึ่งเป็นบริษัทใหม่ที่จะมาบริหารงานด้านโลจิสติกส์โดยตรง บริษัทดังกล่าวเกิดจากการร่วมทุนระหว่าง บริษัท สยามแฟมิลี่ มาร์ท จำกัด บริษัท อิโตชู จำกัด และบริษัทในเครือสหพัฒน์ฯ โดยเป้าหมายในการบริหารงานด้านโลจิสติกส์ จะมุ่งเข้าไปดูแลระบบการขนส่ง และกระจายสินค้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งเห็นว่าธุรกิจคอนวีเนียนสโตร์ยุคใหม่ จำเป็นต้องนำระบบดังกล่าวเข้ามาใช้ร่วมกับการบริหารจัดการธุรกิจ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เป็นการปูพื้นฐานธุรกิจให้แข็งแกร่งและเป็นการก้าวเข้าสู่การขยายธุรกิจในอนาคต ขณะนี้บริษัทมีศูนย์กระจายสินค้าอยู่ 2 แห่ง คือ ที่วัดไทร และที่ร่มเกล้า

จากกรณีศึกษาดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ในยุคนี้ธุรกิจให้ความสำคัญกับเครื่องมือการบริหารจัดการที่ทรงประสิทธิภาพ และการปรับตัวภายใต้ระบบเศรษฐกิจไร้พรมแดนที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการดำเนินงาน การลดต้นทุน การรักษาระดับความพึงพอใจลูกค้าทั้งภายนอก และภายในองค์กรนั้น จำเป็นต้องมีการบูรณาการในหลายๆ ด้านเข้าด้วยกัน เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของธุรกิจ

ที่มา http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2005q2/article2005may12p5.htm
คอลัมน์ คลื่นความคิด โดย สิทธิชัย ฝรั่งทอง มติชนรายวัน วันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 ปีที่ 28 ฉบับที่ 9924


+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++



หัวข้อภาคนิพนธ์ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการของธุรกิจ Logistics ระหว่าง
ประเทศ กรณีศึกษา : บริษัท Ionic Logistics สาขาย่อยตลาดจตุจักร
ชื่อนักศึกษา นางสาวยาวาเฮร์ กาซา
อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภาวดี สุรโกมล
หลักสูตร บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
ปีการศึกษา 2547

บทคัดย่อ

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการของธุรกิจ Logistics ระหว่างประเทศ กรณีศึกษา
บริษัท ไอโอนิค โลจิสติกส์ สาขาย่อยตลาดจตุจักร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเป็นแนวทางในการปรับ
กลยุทธ์ทางด้านการตลาด อันเป็นส่วนสำคัญของการเพิ่มยอดขายของบริษัทให้สูงขึ้น ทั้งนี้ศึกษาถึง
พฤติกรรมและทัศนคติการใช้บริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ในการศึกษาได้ทำการศึกษาปัญหา
และอุปสรรคที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานทางการตลาดในปัจจุบัน โดยทำการรวบรวมข้อมูลด้วย
วิธีการออกแบบสอบถามสัมภาษณ์กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของบริษัทและเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ จาก
การศึกษาค้นคว้าตำราวิชาการ หนังสือพิมพ์ธุรกิจ อินเตอร์เน็ต ข้อมูลจากบริษัทคู่ค้า และแหล่งข้อมูล
ต่างๆ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการศึกษาครั้งนี้ เพื่อนำไปเป็นแนวทางปรับกลยุทธ์ทาง
การตลาดของบริษัทฯ

ผลจากการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีสถานภาพโสด มีอายุ
ระหว่าง 25 - 30 ปี มีอาชีพพนักงานเอกชน ศึกษาสูงสุดปริญญาตรี มีรายได้ต่อเดือน 10,001 –
30,000 บาท/เดือน ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เคยใช้บริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศของบริษัท
DHL รู้จักบริษัทขนส่งสินค้าระหว่างประเทศของบริษัท DHL รู้จักบริษัทโดยวิธีอื่นๆ อาทิเช่น
นามบัตร สติ๊กเกอร์ ส่วนใหญ่เคยใช้บริการของบริษัท Ionic Logistics Co., Ltd. ส่วนใหญ่ใช้บริการ
ด้านการขนส่งแบบ Sea Freight Export ใช้บริการนานๆ ครั้ง ใช้บริการขนส่งสินค้าไปประเทศ
Zone 1 (ประเทศ Brunei, Hongkong, Indoesia, Macau, Malaysia, Philippines, Singapore) ผู้ที่เคยใช้
บริการของบริษัท Ionic Logistics Co.,Ltd. เลือกใช้บริการเพราะมีอัตราค่าบริการในการขนส่งที่
สามารถแข่งขันได้ ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อความรวดเร็วในการให้บริการ อยู่ในระดับมาก
ค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก


++++++++++++++++++++++++++++++++++

กรณีศึกษาหนึ่ง
ที่ต้องการจะนำระบบ ERP เข้ามาใช้เพื่อพัฒนาองค์กรสู่การจัดการโซ่อุปทานนั้น สิ่งที่องค์กรนั้นจักต้องคำนึงถึงคือ ระบบ ERP เป็นระบบที่จะช่วยให้การเชื่อมโยงข้อมูลของแต่ละกระบวนการธุรกิจดำเนินการไหลของวัตถุดิบถึงสินค้าสำเร็จไม่ว่าจะเป็นการขาย การวางแผน การบริหารสินค้าคงคลัง การควบคุมการผลิต การจัดซื้อ ฯลฯ หากแต่ว่าถ้าแต่ละฝ่ายยังไม่มีระบบจัดการของตนเอง ระบบงานจะไม่สอดคล้องกับข้อมูลและเอกสาร จะส่งผลรวมถึงการรวมระบบโดย ERP การนำ ERP ไปใช้เป็นสิ่งที่สร้างความปรับเปลี่ยนอย่างมากกับธุรกิจนี้ ดังนั้นการจะนำระบบคอมพิวเตอร์ที่จัดการ ERP ไปใช้นั้น จำเป็นที่จะมีความเข้าใจในกระบวนการทางธุรกิจเป็นอย่างดี องค์กรจำต้องเข้าใจและมีกระบวนการทำงานมาตรฐาน (Standard work process) ที่ดีเสียก่อน และมีการจัดการต่างๆที่เป็นพื้นฐานของการวางแผนทรัพยากรโดยรวม เช่น MRP (Material Requirement Planning) หรือ MRP II (Manufacturing Resource Planning) ในเบื้องต้น

ตัวอย่างกรณีศึกษาที่สอง
คือ การตัดสินใจที่จะเลือกใช้ 3PL (Third party logistics) ในการเก็บวัสดุคงคลังและกระจายสินค้า ดังเช่นหลาย ๆ บริษัทใหญ่ปฏิบัติ แนวทางการใช้ 3PL ทำหน้าที่เป็นศูนย์กระจายสินค้านี้ สามารถลดค่าใช้จ่ายการเก็บวัสดุคงคลังและการจัดการการขนส่งลงได้จำนวนมาก หากแต่สิ่งที่ SMEs ควรคำนึงถึงคือ ขนาดของธุรกิจของตนนั้นเหมาะหรือไม่ในการใช้แนวปฏิบัตินี้ การลงทุนว่าจ้าง 3PL ในการจัดการกระจายสินค้าหรือทำ Cross docking นั้นสมดุลกับค่าใช้จ่ายที่ลดลงหรือไม่ ในทางปฏิบัติศูนย์กระจายสินค้าที่จะเกิดขึ้นในโซ่อุปทานสำหรับ SMEs นั้น น่าจะเกิดจากการรวมตัวกันของ SMEs ที่จะใช้ศูนย์กระจายสินค้าร่วมกัน หรือแม้กระทั่งการสนับสนุนจากภาครัฐให้ SMEs สามารถใช้ศูนย์กระจายสินค้าร่วมกันและช่วย SMEs ให้ดำเนินธุรกิจไปอย่างครบวงจรมากขึ้นได้มากกว่า

ในลักษณะเดียวกันนี้ การลงทุนทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นค่าใช้จ่ายที่สูง สำหรับ SMEs การเลือกใช้ 4PL (Fourth Party Logistics) ซึ่งเป็น Logistics Provider จัดการด้านข้อมูลต่าง ๆ และเชื่อมโยงกันระหว่างองค์กรให้นั้น จึงเป็นสิ่งที่ควรจะพิจารณา และได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ เพื่อให้ SMEs สามารถติดต่อระหว่างกัน หรือติดต่อกับบริษัทในต่างประเทศได้โดยมิต้องเสียค่าใช้จ่ายในการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในแต่ละองค์กร (ปัจจุบันธุรกรรมทางอิเลคทรอนิคส์ได้รับการยอมรับตามกฎหมายโดยพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเลคทรอนิคส์ ประกาศ ณ วันที่ 2 ธันวาคม 2544 และมีการยอมรับลายเซ็นทางอิเลคทรอนิคส์แล้ว)

ตัวอย่างกรณีศึกษาต่อมา
คือ การที่ SMEs ในไทยรับนโยบายบริหารจากคู่ค้าในต่างประเทศให้เข้าร่วมระบบโซ่อุปทาน การถ่ายทอดนโยบายมานั้นจะเป็นหลักการให้ปฏิบัติตามเมื่อทำโซ่อุปทานร่วมกัน เช่น นโยบายการวางแผนหรือดำเนินการผลิตโดยพิจารณาที่ข้อมูล POS (Point of sales) เป็นหลัก โดยจะไม่ส่งเสริมให้บริษัทผลิตเก็บสต๊อกจำนวนมาก ให้ผลิตเติมสต๊อกต่อเมื่อมีการขายออกไปแล้วเท่านั้น หากแต่การถ่ายทอดนโยบายนี้มิได้พิจารณารวมถึงข้อแม้ที่เกิดขึ้นในบริษัทในประเทศไทย กล่าวคือ การวางแผนดำเนินการผลิตของบริษัทนี้ส่วนหนึ่งจะถูกกำหนดจากปริมาณแรงงานที่มีเป็นสำคัญ บริษัทไม่สามารถควบคุมการผลิตตามข้อมูล POS ได้อย่างเดียวตามที่ต้องการ หากต้องพิจารณาถึงแรงงานที่มีเป็นหลัก ยิ่งไปกว่านั้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมอาหาร ปริมาณวัตถุดิบที่มีและไม่สามารถเก็บไว้ได้นานนั้น จะเป็นตัวขับดันแผนการผลิตหลัก ข้อมูล POS อย่างเดียวไม่สามารถเป็นตัวกำหนดนโยบายโซ่อุปทานตามที่ถ่ายทอดมาได้

ที่มา http://www.thaitextile.org/supply_chain/publication/article7.html
บรรณานุกรม 1. ดวงพรรณ กริชชาญชัย, Critical issues in supply chain management, วารสารจุฬารีวิว กรกฎาคม 25442. ดวงพรรณ กริชชาญชัย, การวัดความสามารถการสนองตอบเชิงอุตสาหกรรม, รายงานความก้าวหน้าโครงการทุนวิจัยหลังปริญญาเอก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยแห่งชาติ (ส.ก.ว.), ธันวาคม 2544

++++++++++++++++++++++++++++++++++

กรณีศึกษาเซเว่นกับปูนซีเมนต์

ภารกิจดีซี "เซเว่นฯ"
นิกร ชยานุวัตร ผู้จัดการทั่วไปส่วนการกระจายสินค้า บริษัท ซี.พี. เซเว่น อีเลฟเว่น จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงปัจจัยในการบริหารศูนย์กระจายสินค้า หรือ DC (Distribution Channel) ว่า
ปัจจัยแรก คือ เลย์เอาท์และการเบิกจ่ายสินค้า ปัจจัยนี้เกี่ยวกับ ปริมาณสินค้าที่ขายแต่ละร้านสาขา ซึ่งที่เซเว่นมีสินค้าอยู่ประมาณ 3,000 กว่ารายการเท่านั้น เพราะพื้นที่มีจำกัด สินค้าที่ขายไม่ดี ก็ต้องนำออกไป

ประเภทของสินค้า มีอยู่ 4 ประเภท คือ
1. ของแช่แข็ง
2. กลุ่มนม โยเกิร์ต ที่เก็บในอุณหภูมิ 4-8 องศาเซลเซียส
3. สินค้าในอุณหภูมิห้องปรับอากาศ
4. สินค้าอุปโภค บริโภคอุณหภูมิห้องปกติ ซึ่งกลุ่มที่ 2 และ 4 จะจัดเก็บที่ศูนย์กระจายสินค้าบางบัวทอง หรือ DC4 ที่เขาดูแลอยู่

ศูนย์นี้จะนำสินค้ามาจัดกลุ่ม แบ่งได้ประมาณ 8 กลุ่ม โดยดูจากน้ำหนัก จากขนาดของสินค้า และจากประเภทที่มีความถี่ในการขาย สินค้าทุกกลุ่มจะถูกจัดวางในทำเลที่ต่างกัน ซึ่งต้องนำมาจัดวางในจุดนัดพบของร้านค้านั้นๆ ดังนั้นพนักงานจะถูกวัดด้วยความเร็วและความผิดพลาดเปรียบเทียบกับมาตรฐานระดับโลก

จำนวนของความต้องการของสินค้าแต่ละกลุ่ม จะถูกกำหนดโดยทีมวิเคราะห์ ซึ่งใช้ข้อมูลจากยอดขาย ขนาดของ***บห่อ น้ำหนัก เพื่อออกแบบการเบิกจ่ายของแต่ละกลุ่ม นอกจากนี้ยังมีโปรมแกรม Address Location ที่บอกตำแหน่งของสินค้าที่จัดเก็บด้วย และสิ่งสุดท้ายที่เกี่ยวข้อง คือ ระบบไอที

นิกร กล่าวว่า โดยพื้นฐานโปรแกรมที่ใช้จัดการในศูนย์กระจายสินค้าจะมีพื้นฐานเหมือนกัน แต่ละองค์กรจะมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน ทำให้โปรแกรมต่างกันด้วย ดังนั้นการนำโปรแกรมจากองค์กรหนึ่งไปใช้ แม้จะอยู่ในธุรกิจเดียวกัน อาจไม่ได้ผลเหมือนกัน องค์กรต้องพิจารณาของงานของตน และควรมองถึงพัฒนาการของซอฟท์แวร์ในอนาคตอีก 10-20 ปีข้างหน้า

ปัจจัยต่อมา คือ การพยากรณ์ปริมาณการสั่งซื้อกับซัพพลายเออร์ว่า ที่เซเว่นจะบันทึกแต่ละกลุ่มสินค้า เสมือนเป็นไดอารี่แต่ละวัน เพื่อให้รู้ปริมาณการสั่งซื้อรู้ ซึ่งเซเว่นก็ได้ลงทุน Point of Sale เพื่อเก็บข้อมูลการขายมาวิเคราะห์"

รายได้ของ DC คือ การเก็บค่าต๋งจากซัพพลายเออร์ เพราะงานของเราคือ คือขายบริการ แทนที่เขาต้องส่งเองทุกสาขา ก็ส่งมาที่เรา แล้วเราไปส่งให้"

นิกร กล่าวว่าประเทศไทยการแชร์ข้อมูลระหว่างกัน ยังไม่ค่อยเป็นที่นิยม ที่ญี่ปุ่นก้าวหน้าไปมาก สามารถพยากรณ์ยอดขายให้ซัพพลายเออร์ได้หลายสินค้า ขณะที่เซเว่นของไทยทำได้เพียง 20% ซึ่งจุดนี้ส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของซอฟท์แวร์ที่ใช้ด้วย

ปัจจัยต่อมาที่เกี่ยวกับการบริหาร DC คือ การควบคุมระดับสินค้าคงคลัง ซึ่งมีตัวชี้วัดตั้งแต่อัตราการเติมเต็มสินค้าให้ทันกับความต้องการ จำนวนวันที่ใช้ในการเก็บสินค้า ซึ่งเซเว่นพยายามจะลดให้เหลือเพียง 3 วัน เพราะต้องการขายสินค้าที่สดใหม่เสมอ การควบคุมสเป็กและสถานที่จัดเก็บ ถ้าเก็บถูกที่ความผิดพลาดจะลดลงมาก จำนวนรอบของการนับสต็อก การตรวจสอบปริมาณที่นับกับบัญชี โดยเฉพาะสินค้าที่นิยมจะโฟกัสทุกวัน และการวิเคราะห์และปรับปรุงผลที่ได้รับจากการตรวจสอบ

อีกปัจจัยสำคัญของการบริหาร คือ การวางแผนกำลังของทรัพยากรที่ใช้ ตั้งแต่คน จนถึงเครื่องมือต่างๆ ที่ต้องจัดเตรียมให้เพียงพอแต่ละช่วงเวลา ระบบการบริหารการขนส่ง ที่นิกรบอกว่า DC ต้องรู้ถึงข้อจำกัดในการส่งสินค้าแต่ละร้านสาขา ตัวอย่างที่ชัดเจน เช่น ร้านเซเว่นที่ภาคใต้กับภาคเหนือก็มีวิธี และเวลาในการส่งของต่างกัน ต้องออกแบบเส้นทางขนส่งเพื่อให้สินค้าถึงที่หมายทันเวลา ที่สำคัญต้องมีบริการที่พร้อมจะรับฟังปัญหาที่เกิดขึ้นจากลูกค้าด้วย และปัจจัยสุดท้าย คือ ระบบป้องกัน และรักษาความปลอดภัย ทั้งระบบป้องกันพนักงานขโมยสินค้า และป้องกันอัคคีภัย

ปัจจุบันเซเว่น มี DC อยู่ถึง 4 แห่ง นิกร กล่าวว่า ถ้าอนาคตขยายถึง 5,000 สาขา คงจะต้องเพิ่มจำนวน DC เป็น 5 ศูนย์ใหญ่ และเพิ่มจำนวนศูนย์ย่อยให้มากขึ้นด้วย

*********************************

กรณีศึกษาเครือปูนฯ
ภาสกร บูรณะวิทย์ กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บริษัท สยามบรรจุภัณฑ์อุตสาหกรรม จำกัด 1 ในธุรกิจของเครือสยามซีเมนต์ (SCG) กล่าวว่า การจะทำให้โลจิสติกส์มีประสิทธิภาพสูงสุด ต้องดูทั้งระบบซัพพลายเชน อาจมีโรงงานเป็นกองหน้า แต่ต้องมีหน่วยถัดไปสนับสนุน ครั้งนี้เขาได้ถ่ายทอดประสบการณ์ของธุรกิจในเครือปูนฯ มาเล่าให้ฟังถึง 4 กรณีศึกษาทีเดียว

2 เรื่องแรกเกี่ยวกับธุรกิจกระดาษและบรรจุภัณฑ์ เขากล่าวว่า การให้ความสำคัญต่อการปรับปรุงระบบซัพพลายเชน ผ่านการบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ ที่นำไอทีและเทคโนโลยีเข้ามาใช้ เพื่อเพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้า ถูกกำหนดเป็น 1 ในกลยุทธ์หลักของสยามบรรจุภัณฑ์อุตสาหกรรม

มีระบบที่ทำร่วมกับบริษัทขนส่ง อย่างเช่น ระบบสมาร์ทการ์ด ที่จะมีการ์ดรูดเข้า-ออกระหว่างบริษัทกับผู้ขนส่ง โดยมีข้อมูลแสดงรายละเอียดของสินค้า ชนิดรถ และน้ำหนักบรรทุก จำนวนรถที่กำลังขึ้นของและรอขึ้นของ แผนที่ของลูกค้าเพื่อลดเวลาในตรวจสอบเอกสาร และสามารถทราบสถานะของการขนส่งได้แบบ real time

ติดตั้งระบบ GPS (Global Positioning System) ช่วยติดตามสถานะรถขนส่ง นอกจากนี้ยังปรับปรุงวิธีจัดการ จากเดิมที่ส่งกล่องซึ่งเป็นสินค้า จะใช้มัดรวมเป็นมัด ก็เปลี่ยนเป็นจัดวางและส่งเป็นถาดพาเลท ซึ่งช่วยลดปัญหาชำรุดและเปื้อนระหว่างขนส่ง และยังปรับปรุงการทำความสะอาดรถ และเปลี่ยนชุดฟอร์มพนักงานขับรถ สำหรับการขนส่งสินค้าที่ใช้กับอุปกรณ์การแพทย์ เพื่อเน้นความสะอาดเพิ่มขึ้น มีการจัดทำประวัติผู้รับเหมาจัดส่ง ประวัติรถขนส่ง และแจกจ่ายวีซีดีวิธีทำงาน ให้กับพนักงานใหม่ศึกษาก่อนทำงานจริงด้วย

เรื่องที่ 2 เกี่ยวกับห่วงโซ่มูลค่าของกระดาษคราฟท์ (Kraft paper) ซึ่งมีทั้งที่ขายเป็นม้วน และผลิตเป็นกล่องตามสั่งให้กับลูกค้า เขาอธิบายการไหลของสินค้าและข้อมูลว่า สินค้าจะเริ่มที่ฝ่ายจัดซื้อและสินค้าคงคลัง จากนั้นจะถูกส่งไปที่ฝ่ายผลิต ซึ่งมี 2 โรงงาน ที่ราชบุรีและกาญจนบุรี แล้วเก็บที่คลังสินค้า ก่อนส่งมาที่ฝ่ายขายและการตลาดที่กรุงเทพฯ และไปยังฝ่ายบริการ ขณะที่ข้อมูลจะไหลกลับในทางที่ตรงกันข้าม คือเริ่มที่ฝ่ายบริการ จนถึงฝ่ายจัดซื้อ

ข้อมูลต้องออนไลน์ตลอดเวลา และต้องมีรายงานเพื่อสนับสนุนการทำงานของทั้งฝ่ายขาย ฝ่ายผลิต และฝ่ายสินค้าคงคลัง ให้ตรวจสอบการปฏิบัติงานเป็นรายวันได้ ตลอดจนใช้เพื่อการวิเคราะห์และตัดสินใจได้

ดังนั้นจึงได้รวบรวมข้อมูลของทั้ง 3 ฝ่ายขาย มาทำฐานข้อมูล สร้างระบบรายงานผลทางออนไลน์ โดยแลกเปลี่ยนข้อมูลบน web based และสนับสนุนให้คนเข้าไปใช้ข้อมูล เทคโนโลยีที่ใช้ ก็มีเว็บเซิร์ฟเวอร์ และโปรแกรม Active Server Page (ASP)และฐานข้อมูล ซึ่งภาสกรบอกว่าธุรกิจอื่นๆ อาจใช้โปรแกรม Access หรือของ Oracle ก็ได้

ภาสกร กล่าวว่า อดีตตรวจสอบสถานะสินค้า ใช้โทรศัพท์หรือแฟกซ์สื่อสารระหว่างโรงงานที่ราชบุรีและกาญจนบุรี และการตลาดที่กรุงเทพฯ ซึ่งช้าและอาจผิดพลาดได้ แต่ปัจจุบันได้รวมข้อมูลและเชื่อมเข้าไปในเว็บ ทำให้ระบบตรวจสอบสถานะสินค้าน่าเชื่อถือมากขึ้น ฝ่ายวางแผนการผลิตก็ติดตามการผลิต และออร์เดอร์ลูกค้า เปรียบเทียบกับแผนแบบ real time ได้

เรื่องที่ 3 เป็นธุรกิจขนส่งปูนเม็ดส่งออกภาคใต้จากโรงงานที่ทุ่งสงไปยังท่าเรือกันตัง จากปัญหาที่พบ เช่น ขนส่งปูนเม็ดจากโรงงาน ไปขนถ่ายขึ้นเรือใหญ่ได้ต่ำกว่าแผนงาน 15% เนื่องจากเวลาที่ท่าเรือมีจำกัด บางเส้นทางขนส่งไม่ได้ช่วงโรงเรียนเข้า-เลิก การบริหารรถ ขาดข้อมูลสถานะ และตำแหน่งของรถ รถเข้ารับสินค้าที่โรงงานไม่สม่ำเสมอ ก็ไม่สามารถทำรอบขนส่งได้ตามแผน เกิดคอขวดจากการคอยในการขนส่ง

บริษัทจึงติดตั้งระบบ GPS กรณีนี้ต่างจากกรณีแรก โดยเพิ่มคุณภาพและปริมาณของข้อมูลที่รับได้ ซึ่งก็ได้ออกแบบขั้นตอนการทำงานใหม่ และพัฒนา Sensor เพิ่มเติมเพื่อป้องกันสถานะต่างๆ ของรถและเรือ ติดตั้งการแสดงผลบน web based เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลให้สะดวกและทันเหตุการณ์

ประโยชน์หลังปรับปรุง พบว่าผู้รับเหมาขนส่ง เพิ่มจำนวนรอบขนส่งได้ และยังช่วยรักษาความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สิน เกิดรายได้ส่วนเพิ่ม ขณะที่การผลิตปูนเม็ดก็ทราบสถานการณ์ทำงานแบบ real time มีต้นทุนขายที่แข่งขันได้ และเพิ่มโอกาสในการขาย ส่วนด้านของผู้ที่รับปูนเม็ดไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ก็มีความเชื่อมั่นในการส่งมอบสินค้าเพิ่มขึ้น ด้านบริษัทก็สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการจัดส่ง ลดต้นทุนการกระจายสินค้า และเพิ่มคุณค่าให้กับการบริการ

เรื่องสุดท้าย คือ การบริหารคลังสินค้า อดีตมีสต็อกจำนวนมาก ถ้าไม่บริหารแบบ FIFO สินค้าจะไม่ออกไปตามวันที่ผลิต บรรจุภัณฑ์แบบถุงเสียหายจำนวนมากระหว่างปฏิบัติงาน ส่งสินค้าผิด ใช้เวลาหาของในคลังสินค้านาน ใช้พื้นที่เก็บสินค้าไม่มีประสิทธิภาพสิ่งที่ต้องทำ คือ 1.การออกแบบเลย์เอาท์ของคลังสินค้าใหม่ จากเดิมที่การจัดเก็บตามสินค้า พอสินค้าใดขายดี ก็มีที่ว่าง แต่สินค้าที่ขายไม่ดีก็เหลือ จึงเปลี่ยนเป็นกระจายสินค้าจัดเก็บที่ใดก็ได้ที่มีที่ว่าง แต่มาเน้นข้อมูลว่าสินค้านั้นๆ ถูกจัดวางในตำแหน่งใดบ้าง 2. ออกแบบกระบวนการทางธุรกิจใหม่3. ติดตั้งเทคโนโลยีขั้นสูง โดยซอฟท์แวร์ที่ใช้ คือโปรแกรม SAP-WM และ ITS และฮาร์ดแวร์ คือ บาร์โค๊ด และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งไอทีที่นำมาใช้ทำให้กระบวนการบางส่วนลดขั้นตอนลงไป ในภาพรวมสามารถลดความเสียหายของบรรจุภัณฑ์ได้ถึง 60% ลดปริมาณสินค้าที่เสื่อมสภาพจากอายุได้ 100% และลดการส่งของผิดได้ 50%
***********
ปัจจุบันต้นทุนของโลจิสติกส์ของไทยยังสูงถึง 19% ของ GDP เทียบกับประเทศที่เจริญ มีเพียง 7%-11% เท่านั้น ดังนั้นขณะนี้รัฐจึงหันมาให้ความสำคัญเรื่องนี้มากขึ้น และตั้งเป้าจะลดลงให้เหลือ 15% ให้ได้ในปี 2551

ขณะที่ภาคของธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสภาพแวดล้อมการแข่งขันล้วนกระทบต่อการจัดการโลจิสติกส์ขององค์กรเอง ตั้งแต่เรื่องของการสร้างความได้เปรียบที่มีอยู่ 2 ด้าน คือความสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้า และการลดต้นทุนขององค์กร ซึ่งวันนี้เป็นเรื่องที่ต้องทำทั้งคู่ เพราะแม้จะเสนอสินค้าที่มีราคาถูกให้ลูกค้าแล้ว ลูกค้าก็ยังเรียกร้องให้ลดราคาลงอีกตลอดเวลา ทำให้องค์กรต้องปรับปรุงต่อเนื่อง เพื่อลดต้นทุนลงให้ได้เรื่อยๆ

นอกจากนี้อำนาจการต่อรองในช่องทางการจัดจำหน่าย ขณะนี้อยู่ในมือค้าปลีกขนาดใหญ่ ซึ่งระบบบริหารจัดการ ขึ้นอยู่กับผู้มีอำนาจสูงสุด ประกอบกับลูกค้าเรียกร้อง และต้องการควบคุมมากขึ้น สินค้าและบริการมีวงจรชีวิตที่สั้นลง ความต้องการไม่แน่นอนมากขึ้น ทำให้การพยากรณ์ไม่ได้ตอบสนองความต้องการได้แน่ชัดองค์กรจะใช้แนวคิดในการบริหารโลจิสติกส์ใดก็ตามให้คำนึงถึงความเสี่ยงและความไม่แน่นอน ซึ่งมีอยู่ 5 ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง คือ
1. ซัพพลายเออร์
2.ความต้องการของลูกค้า
3. กระบวนการที่องค์กรออกแบบมา
4. ระบบควบคุมขององค์กร
5. ความเสี่ยงจากสภาพแวดล้อมของธุรกิจ ซึ่งข้อนี้เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยากที่สุด องค์กรต้องเรียงลำดับความสำคัญความเสี่ยง และพยายามลด โดยประเมินและเตรียมแผนรับมือแก้ไขไว้สิ่งสำคัญของแนวคิดซัพพลายเชนในอนาคต ก็คือการนำไอทีเข้ามาใช้ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันทั้งระบบ และมุ่งที่ความต้องการของลูกค้าเป็นสำคัญ

ที่มา http://www.stoumba5.com/webboard/show.php?Category=stoumba5&No=889

บริษัทด้านโลจิสติกส์

http://www.kinglogistic.com/
บริษัทคิงส์ขนส่งจำกัด บริการธุรกิจทาง ด้านขนส่งและ
การบริหารคลังสินค้าให้กับบริษัทต่างๆทั้งในหน่วยงานเอกชนหรือของรัฐบาล

http://www.tpt-terminal.co.th/thai/job.html
บริษัท ไทยพรอสเพอริตีเทอมินอล เป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับ การบริหารท่าเรือเพื่อการขนถ่ายสินค้า นำเข้า - ส่งออก ระหว่างประเทศ

www.bwlogistics.co.th/job/indext.shtml
บริษัท ทรานโลจิสติก จำกัด

www.bwlogistics.co.th/job/indext.shtml
บริษัท ทรานโลจิสติก จำกัด

www.thaishipping.co.th/job/job.html
กลุ่มบริษัทไทยชิปปิ้ง

www.beeber.co.th/job-eng.html
Beeber Distributor Co.,Ltd.

http://www.brinks.co.th/main_b.htm
บริษัท จัดส่ง บริงส์ เปิดรับสมัครงาน

http://www.cargocommunity.com/job/norecord.asp
บริษัท เกี่ยวกับการขนส่ง เปิดรับสมัครงานที่หน้านี้

http://www.tips.co.th/job/
บริษัท ที ไอ พี เอส จำกัด

http://www.dhl.co.th/
บริษัท ดีเอชแอล เปิดรับสมัครงานหลายตำแหน่ง เข้าไปที่ Job Opportunity

http://www.eac.co.th/career_th.htm
บริษัท อี๊สต์เอเชียติ๊ก (ประเทศไทย) เปิดรับสมัครงานหลายตำแหน่ง

http://www.jvkmovers.com/contach.html
JVK International Movers Ltd. บริษัทฯขนส่ง คลังสินค้า เปิดรับบุคคลเข้าร่วมงานกับบริษัทฯ หลายตำแหน่ง

http://www.lcit.com/recruit/index.php?app_lang=th
บริษัท แหลมฉบัง อินเตอร์เนชันแนล เทอร์มินอล จำกัด

http://www.pioneergroup.in.th/f_n_career.htm
สมัครเข้าร่วมงานกับ กลุ่มบริษัท ไพโอเนียร์

http://www.profrtgroup.com/
บริษัทด้านการขนส่งเปิดรับสมัครบุคคลากรร่วมงานหลายตำแหน่ง

http://www.marinerthai.com/webboard/webboard.php?Category=carr
ประกาศสมัครงาน ข่าวประชาสัมพันธ์ต่างๆเกี่ยวกับ เรือ การขนส่งทางเรือ

http://www.plusthailogistics.com/
บริษัท พลัส ไทยโลจิสติกส์ จำกัด

http://www.bjclogistics.co.th/th/company_profile.php
บีเจซี โลจิสติกส์ เป็นหน่วยงานหนึ่งของกลุ่มบริษัทเบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งได้ริเริ่มธุรกิจในประเทศไทยเมื่อกว่า 125 ปีที่แล้ว เป็นผู้นำการให้บริการด้านซัพพลายเชนและโลจิสติกส์แบบบูรณาการ โดยจัดตามความต้องการของลูกค้า แต่ละรายโดยยึดความพึงพอใจของลูกค้าเป็นหลักสำคัญในการวัดผลความสำเร็จของบริษัท

RFID สำหรับอุตสาหกรรมการผลิต โลจิสติกส์และซัพพลายเชน

RFID สำหรับอุตสาหกรรมการผลิต โลจิสติกส์และซัพพลายเชน
ดร.นระ คมนามูล

RFID คืออะไร
RFID ย่อมาจากคำว่า Radio Frequency IDentification ซึ่งเป็นเทคโนโลยีตระกูลหนึ่งของ Automatic Identification [Auto-ID] ที่นำมาใช้เพื่อช่วยให้เครื่องจักรสามารถบ่งบอก พิสูจน์ทราบ หรือชี้ตัวสิ่งของ เช่นเดียวกับ “บาร์โค้ด” “สมาร์ตการ์ด” “การอ่านตัวอักษรทางแสง (OCR)” และ “ระบบไบโอเมตริก” ทั้งหมดเป็น Identification technology ซึ่งไม่ใช่ของใหม่ หากแต่ได้ใช้กันอย่างแพร่หลายมาแล้วเป็นเวลาหลายสิบปี

ทุกวันนี้ผู้คนเกี่ยวข้องกับ RFID มากขึ้น เพราะความเจริญก้าวหน้าทางด้านคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และความต้องการระบบอัจฉริยะทั้งหลาย เช่น ระบบการใช้ตั๋วรถไฟฟ้าใต้ดินรฟม เป็นเหรียญ RFID ที่สามารถใช้เครื่องกั้นอัตโนมัติตรวจราคาตั๋วจากสถานีต้นทางไปยังสถานีปลายทางให้ถูกต้องได้ตามราคาที่กำหนด เป็นต้น

RFID เป็นคำทั่วไปสำหรับเทคโนโลยีที่ใช้คลื่นวิทยุเพื่อการบ่งบอกข้อสนเทศเกี่ยวกับคน สัตว์ หรือสิ่งของโดยอัตโนมัติ มีหลายวิธีการด้วยกันที่ใช้ในการพิสูจน์ทราบหรือชี้ตัวสิ่งของ แต่ที่ใช้กันมากที่สุด คือ เพื่อการเก็บข้อสนเทศในไมโครชิปที่มีสายอากาศ (ชิป+สายอากาศ เรียกว่า “RFID transponder” หรือ “RFID Tag”) สายอากาศทำให้ชิปสามารถถ่ายทอด “ข้อมูลไอดี” ไปยัง “ตัวอ่าน” เพื่อให้ตัวอ่านแปลงคลื่นวิทยุที่ปรากฏจากป้ายอาร์เอฟไอดีให้เป็นข้อสนเทศดิจิทัลที่สามารถผ่านต่อไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์หรือ เครื่องพีแอลซีของระบบควบคุมได้

ส่วนสำคัญของระบบ RFID ประกอบด้วย ป้าย (RFID Tag หรือ RFID Trandsponder) และอุปกรณ์ตัวอ่าน (RFID Reader หรือ RFID Interrogator) และเครื่องคอมพิวเตอร์ (Host) หรือ เครื่องพีแอลซี (ศูนย์ควบคุม)

ป้าย ( RFID Tag) ประกอบด้วยชิปและสายอากาศ ส่วนอุปกรณ์ตัวอ่าน (RFID Reader) ประกอบด้วยอาร์เอฟมอดูล (เครื่องส่งและเครื่องรับ) หน่วยควบคุม สายอากาศ และอินเตอร์เฟซทั้งหลาย

โครงสร้างของ RFID Tags ประกอบด้วย
· ชิป (Chip) : สำหรับเก็บข้อสนเทศของสิ่งของที่จะติดป้าย
· สายอากาศ (Antenna) : สำหรับการส่งข้อสนเทศไปยังตัวอ่านโดยใช้คลื่นวิทยุ และ
· สิ่งห่อหุ้มหรือเปลือก (Packaging) : สำหรับบรรจุชิปและสายอากาศเพื่อที่ป้ายจะสามารถยึดติดกับสิ่งของได้

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการเลือกใช้อุปกรณ์RFID คือ Carrier Frequencies ซึ่งหมายถึงคุณสมบัติของคลื่นวิทยุที่จะใช้ส่งข้อมูล หรือพูดอีกนัยหนึ่งคือความเข้มของคลื่นวิทยุที่จะใช้ส่งข้อสนเทศ คลื่นความถี่ที่ใช้มีทั้งคลื่นความถี่ต่ำ (LF) คลื่นความถี่สูง (HF) และคลื่นความถี่สูงมาก ๆ (UHF)

ระบบ RFID อาจจะใช้ย่านความถี่หนึ่ง ๆ ของคลื่นวิทยุ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับงาน ข้อกำหนดทางกฎหมาย และที่สำคัญคือราคาที่เหมาะสมกับงาน ดังในตารางต่อไปนี้


ย่านความถี่ คุณลักษณะ การใช้งาน
คลื่นความถี่ต่ำ100-500 kHz ระยะอ่านใกล้ถึงปานกลาง ความเร็วในการอ่านต่ำราคาถูก ควบคุมการเข้าออก
สำหรับชี้ตัวคน/สัตว์
ควบคุมบัญชีสินค้า
คลื่นความถี่สูงปานกลาง10-15 MHz ระยะอ่านใกล้ถึงปานกลาง ความเร็วในการอ่านปานกลางราคาไม่แพงมาก ควบคุมการเข้าออก
สมาร์ตการ์ด
คลื่นความถี่สูงมาก ๆUHF: 850-950
MHzMicrowave: 2.4-5.8 GHz ระยะอ่านไกลและตรงในแนวสายตา (ไมโครเวฟ)ความเร็วในการอ่านสูงราคาแพง การติดตามดู
ตู้รถไฟ ขนส่ง
ระบบด่านเก็บ
เงินทางหลวง


การต่อเชื่อม : Coupling สำหรับคลื่นความถี่ 100 kHz- 30 MHz ใช้ Inductive coupling และสำหรับคลื่นความถี่สูงและคลื่นไมโครเวฟใช้ Electromagnetic coupling ความแตกต่างของอุปกรณ์ RFID นั้นขึ้นอยู่กับคลื่นความถี่(frequency) ระยะอ่าน(range) และระดับกำลังไฟฟ้า(power level) คลื่นความถี่เป็นตัวสำคัญสำหรับพิจารณาอัตราความเร็วในการส่งข้อมูล ความถี่ยิ่งสูง อัตราความเร็วในการส่งข้อมูลก็จะยิ่งสูงขึ้น


RFID(ต่อ) สำหรับอุตสาหกรรมการผลิต โลจิสติกส์และซัพพลายเชน

RFID สำหรับอุตสาหกรรมการผลิต โลจิสติกส์และซัพพลายเชน
ดร.นระ คมนามูล
ระยะการอ่านและระดับกำลังไฟฟ้า คือ ระยะทำงานระหว่างป้ายและอุปกรณ์ตัวอ่าน ระยะอ่านในระบบอาร์เอฟไอดีพิจารณาจาก
· เพาเวอร์ที่มีอยู่ในตัวอ่าน
· เพาเวอร์ที่มีอยู่ภายในป้าย
· สภาพแวดล้อมและโครงสร้าง (ซึ่งจะสำคัญมากขึ้นเมื่อความถี่สูงขึ้น)
· ใช้กำลังไฟฟ้าประมาณ 100-500 mW

ป้ายมี 2 อย่างด้วยกัน คือ Active Tags และ Passive Tags

ความแตกต่างคือ Active tags นั้นมีแบตตารี่ภายในเป็นเพาเวอร์ ดังนั้นจึงมีอายุจำกัด(เพราะแบตตารี่) ข้อดีคือมีระยะทำงานมากกว่า ป้องกันคลื่นรบกวนได้ดีกว่า และมีอัตราการถ่ายทอดข้อมูลสูงกว่า ขณะที่ Passive tags นั้นทำงานโดยปราศจากแบตตารี่ภายใน แต่จะอาศัยเพาเวอร์จากการเหนี่ยวนำสนามแม่เหล็กไฟฟ้าโดยตัวอ่าน ข้อดีคือมีราคาถูก อายุการใช้งานไม่จำกัด แต่อาจถูกรบกวนโดยคลื่นอื่นได้ง่าย และต้องการตัวอ่านที่มีเพาเวอร์สูง และความไวเฉพาะทิศทาง

ชนิดของป้าย RFID อาจแบ่งออกได้เป็น 3 แบบ คือ หนึ่ง แบบ Read Only (Class 0) ซึ่งข้อสนเทศถูกบรรจุมาเรียบร้อยจากผู้ผลิตเพื่อให้อ่านเท่านั้น , สอง แบบ User Programmable (Class 1) แบบ WORM – Write Once Read Many ซึ่งสามารถบรรจุข้อสนเทศได้โดยผู้ใช้หลังจากการผลิตแล้ว และ สาม แบบ Read/Write แบบหลังนี้สามารถอ่านและเขียนข้อสนเทศลงในRFID transponder ได้
ข้อดีของ Read/Write tags คือ การเปลี่ยนแปลงข้อสนเทศทำได้เองตามความต้องการของผู้ใช้ และมาตรฐานที่อาจเปลี่ยนแปลงได้ ที่ขึ้นอยู่กับฐานข้อมูลของเจ้าของและเวลาภายหลัง อีกทั้งยังเหมาะกับการใช้งานที่มีความเสี่ยงสูง

ในอุตสาหกรรมการผลิต และการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ทุกวันนี้มีการใช้ RFID มากในสายการผลิต ระบบสายพานลำเลียง การผลิตเชิงอุตสาหกรรม คลังวัสดุ/สินค้า โลจิสติกส์ การจำหน่าย การทดสอบ และการขนส่ง ระบบ RFID มักจะถูกใช้งานด้วยวัตถุประสงค์ต่าง ๆ คือ

· เพื่อให้ถึงขีดที่ได้ผลดีที่สุดสำหรับการไหลของวัสดุและโลจิสติกส์
· เพื่อการผลิตที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมหนักที่มีสภาพแวดล้อมรุนแรงและอากาศปนเปื้อน เช่น การทำตัวถังรถยนต์ การพ่นสี และการประกอบขั้นสุดท้ายในสายการผลิตรถยนต์ สายการผลิตเครื่องยนต์ ชุดเกียร์ ชุดพวงมาลัย ระบบเบรก ประตู ถุงลมนิรภัย และแผงหน้าปัดสำหรับคนขับ และอุตสาหกรรมอื่น ๆ มีอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า อุตสาหกรรมแก้วและเซรามิก เป็นต้น
· เพื่อการจำหน่ายสินค้า การขนส่ง และโลจิสติกส์สำหรับคลังสินค้า เช่นในงานส่งเอกสารคลังสินค้ารวมถึงการรับใบสั่งของ การชี้ตัวตู้คอนเทนเนอร์หรือเรือที่ขนส่ง การชี้ตัวรถขนส่ง เพลเล็ต หีบห่อ หรือ ตู้คอนเทนเนอร์บรรจุน้อย การควบคุมการบรรจุและการจัดจ่ายจำหน่ายด้วยบันทึกนำส่งทางอิเล็กทรอนิกส์ การชี้ตัวชิ้นส่วนสำหรับสิ่งทอ และเครื่องนุ่งห่ม และอื่น ๆ รวมถึงการส่งหีบห่อและการติดตาม เป็นต้น

ตัวอย่างการใช้ระบบ RFID ในอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ เพื่อให้ถึงขีดที่ได้ผลดีที่สุดในการติดตามชิ้นส่วนประกอบต่าง ๆ โลจิสติกส์คลังชิ้นส่วน การไหลของวัสดุในสายการผลิต การผลิตเชิงอุตสาหกรรม การจัดจ่ายจำหน่ายและซัพพลายเชน และการขนส่งทางรถและระวางทางเรือ กรณีเช่นนี้ระบบและอุปกรณ์ RFID ต้องสามารถทำงานได้ในสภาวะงานหนัก แข็งแรงทนทาน หน่วยเก็บข้อมูลอยู่ในสภาพอุณหภูมิสูง ระบบทั้งหมดต้องทำงานได้อย่างต่อเนื่องเป็นขั้นตอนตามลำดับชั้นการควบคุมถึงขั้นการติดต่อสื่อสารสั่งการได้จากภายนอกหรือผู้ขาย ที่เรียกว่า แบบไม่มีรอยต่อ(seamless)

ในงานลักษณะนี้ ระบบและอุปกรณ์ต่าง ๆ ต้องการการอ่านและการเขียนข้อมูลที่เชื่อถือได้ รวดเร็ว และประหยัด ภายใต้สภาพแวดล้อมทั้งที่รุนแรงและไม่รุนแรง การเก็บข้อมูลทำได้โดยตรงลงบนป้ายที่ติดกับผลิตภัณฑ์ ควบคุมและออปติไมซการไหลของวัสดุ และจัดหาอย่างมีประสิทธิภาพสำหรับกระบวนการโลจิสติกส์ เทคโนโลยีต่าง ๆ มีตั้งแต่การใช้ฉลากอัจฉริยะที่ประหยัดสำหรับโลจิสติกส์ถึงกระทั่งที่มีหน่วยความจำที่แข็งแรงทนทานสำหรับสายการผลิต หรือการใช้ในระบบควบคุมจราจรและโลจิสติกส์การขนส่งที่ต้องมีหน่วยความจำระยะไกล ระยะการอ่าน 0.1-3.0 เมตร(ความถี่ 13.56 MHz,1.81 MHz, 13.56 MHz, 2.4 GHz) สำหรับการผลิต และ 0.42-0.9 เมตร (ความถี่ 125 kHz, 13.56 MHz) สำหรับโลจิสติกส์

เช่น ป้ายในย่านความถี่ UHF สำหรับงานโลจิสติกส์และการกระจายสินค้า ความถี่เครื่องส่ง ตามมาตรฐาน EPC Globalและ ISO 18000-6B มีความถี่ส่ง 865-868 MHz สำหรับยุโรปและ 902-928 MHz สำหรับสหรัฐฯ ทรานสปอนเดอร์สำหรับโลจิสติกส์และการผลิต มีทั้งที่เป็นฉลากอัจฉริยะ ป้ายติดตู้คอนเทนเนอร์ และป้ายต้านทานความร้อน ความจุถึง 2048 บิต แฟกเตอร์ป้องกันถึง IP 68 ทนความร้อนถึง +220 องศาเซลเซียส อุปกรณ์ตัวอ่านมีเปลือกนอกแข็งแรงทนทาน มีระดับการป้องกันสูง (IP 65) สำหรับตัวอ่านและสายอากาศ ซึ่งมีด้วยกัน 4 สายอากาศเพื่อให้สามารถทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่ยากลำบากโดยมีระยะทำการได้ถึง 10 เมตรและมีอัตราการอ่านที่รวดเร็วถึงแม้ว่าป้ายกำลังเคลื่อนที่เร็ว ที่สำคัญคือความสามารถในการอินทิเกรตระบบออโตเมชั่นเข้ากับภูมิทัศน์ไอทีผ่านอีเทอร์เน็ต ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย



ที่มา http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?passTo=f241731bd26874e0a13071a66b4f289d&pageid=7&bookID=589&read=true&count=true

เลตเตอร์ออฟเครดิตทางการค้าเพื่อการสั่งสินค้าเข้า

เลตเตอร์ออฟเครดิตทางการค้าเพื่อการสั่งสินค้าเข้า

ต่อไปจะกล่าวเรื่องเลตเตอร์ออฟเครดิตทางการค้าเพื่อการสั่งสินค้าเข้าโดยเฉพาะ
วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต

(1) ลูกค้าในประเทศไทยติดต่อขอซื้อสินค้าจากบริษัทผู้ขายที่ต่างประเทศ เมื่อตก
ลงทำสัญญาและเงื่อนไขในการซื้อขายเสร็จแล้ว

(2) ลูกค้าในประเทศไทยยื่นคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตติดต่อธนาคารพาณิชย์
ที่ตนติดต่อไว้ และแจ้งเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ประสงค์ในคำขอนั้นตามที่ตกลงไว้กับผู้ขาย ซึ่งสามารถยื่นคำขอที่ธนาคารสาขาได้ทั่วประเทศ ที่ทำหน้าที่เป็น Front office ขณะที่ศูนย์ประมวลเอกสารสำคัญทั้งหมดมักจะอยู่ที่ธนาคารสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพ ฯ

(3) เมื่อธนาคารอนุมัติแล้ว จะออกเลตเตอร์ออฟเครดิตให้ตามเงื่อนไขของลูกค้า
(ซึ่งมักประกอบด้วยรายการดังที่กล่าวไว้ข้างต้น)

(4) ธนาคารในประเทศไทยผู้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิต จัดส่งเอกสารเลตเตอร์
ออฟเครดิตให้แก่ธนาคารตัวแทนที่ต่างประเทศ 2 ฉบับ โดยส่งทางแอร์เมล์หรือทางโทรสาร และส่งให้ลูกค้า 1 ฉบับ กับเก็บไว้เป็นหลักฐานที่ธนาคาร

(5) ธนาคารตัวแทนที่ต่างประเทศจะแจ้งและส่งเลตเตอร์ออฟเครดิตไปให้ผู้ขาย
สินค้าทราบ

(6) ผู้ขายจัดการส่งสินค้าลงเรือ แล้วนำเอกสารที่เกี่ยวข้องตามเงื่อนไขในเลต
เตอร์ออฟเครดิต(พร้อมเอกสารประกอบคือ ใบตราส่ง ใบกำกับสินค้า และกรมธรรม์ประกันภัย และเงื่อนไขการซื้อขาย) มายื่นต่อธนาคารเพื่อรับเงินตามตั๋ว หรือให้รับรองการชำระเงินตามระยะเวลาที่ระบุไว้ในตั๋ว

(7) เมื่อธนาคารตัวแทนที่ต่างประเทศตรวจเอกสารครบถ้วนตามเงื่อนไขในเลต
เตอร์ออฟเครดิตแล้ว ก็จะจ่ายเงินให้ผู้ขายสินค้า แล้วคิดเงินเอาจากธนาคารผู้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิต กับส่งเอกสารในการขนส่งและเอกสารที่เกี่ยวข้องให้แก่ธนาคารผู้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิต

(8) ธนาคารผู้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตได้รับเอกสารต่าง ๆ แล้วจะแจ้งให้ลูกค้าผู้
ขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตทราบ เพื่อให้นำเงินมาชำระราคาสินค้าและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ให้ธนาคารหรือให้มารับรองตั๋วแลกเงินตามแต่กรณี สำหรับราคาสินค้าที่เป็นเงินตราต่างประเทศตาม ป.พ.พ. มาตรา 196 ให้คิดเป็นเงินไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินในสถาน ที่และในเวลาที่ใช้เงิน ซึ่งอัตราแลกเปลี่ยนอาจเปลี่ยนแปลง ลูกค้าอาจตกลงกับธนาคารขอกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินไว้ล่วงหน้าก็ได้

(9) ลูกค้า (ผู้นำเข้าสินค้า) รับเอกสารแล้วนำไปรับสินค้าจากท่าเรือ

ในกรณีส่งสินค้าออก ขั้นตอนการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตก็เช่นเดียวกัน แต่กลับทางกัน คือ ทางลูกค้าในต่างประเทศ หรือผู้สั่งซื้อสินค้าจากไทย จะเป็นผู้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตที่ธนาคารในประเทศของเขา

ใบรับสินค้าเชื่อ หรือ ทรัสต์รีซีต (Trust Receipt ตัวย่อว่า T/R)
กรณีสืบเนื่องมาจากลูกค้าได้รับแจ้งจากธนาคารผู้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิต ให้นำเงินไปชำระราคาสินค้าและค่าธรรมเนียมแก่ธนาคารแล้ว รับเอาเอกสารไปออกสินค้าแต่ลูกค้าไม่มีเงินชำระ ลูกค้าจะมาติดต่อขอทำ “ทรัสต์รีซีต” กับธนาคารโดยมีข้อตกลงว่าลูกค้าขอรับเอกสารเพื่อนำไปออกสินค้าก่อน ส่วนการชำระเงินนั้นขอผลัดไปตามกำหนดเวลาที่ตกลงกัน

ทรัสต์รีซีต คือ ตราสารที่ลูกค้าทำไว้ต่อธนาคารโดยมีข้อตกลงดังนี้
(1) ลูกค้าสัญญาจะออกสินค้าจากท่าเรือแล้วนำไปเข้าคลังสินค้าไว้ในนามของ
ธนาคารโดยให้ธนาคารเป็นผู้ทรงสิทธิในสินค้าเหล่านั้น

(2) การนำสินค้าออกจากคลังสินค้าแต่ละครั้งต้องได้รับคำยินยอมจากธนาคาร

(3) ลูกค้ารับรองว่าจะนำเงินที่ได้รับจากการขายสินค้ามาชำระให้ธนาคารตาม
กำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้

(4) ลูกค้าจะต้องทำการประกันภัยสินค้าให้ธนาคารเป็นผู้รับประโยชน์

นอกจากความหมายดังกล่าวแล้ว “ทรัสต์รีซีต” มีคำจำกัดความตามพจนานุกรม
การธนาคารไว้ว่า คือตราสารที่ลูกค้าทำไว้ต่อธนาคารโดยอาศัยความเชื่อถือที่ธนาคารมีต่อลูกค้า และลูกค้าให้การรับรองว่าธนาคารมีกรรมสิทธิ์ในสินค้านั้น และมีอำนาจที่จะเรียกกลับคืนมา หรือทำการจำหน่ายแทนได้ทุกโอกาส และในการจำหน่ายสินค้านั้น ลูกค้าจะกระทำไปเพื่อประโยชน์ของธนาคาร และจะนำเงินที่ขายสินค้านั้นมาชำระให้แก่ธนาคาร

ดังนั้น ทรัสต์รีซีตจึงทำขึ้นเพราะธนาคารเชื่อถือลูกค้าและเป็นการปล่อยสินเชื่ออย่างหนึ่ง และแม้ธนาคารจะมีสิทธิ์ตามสัญญาทรัสต์รีซีตดังกล่าวแล้วก็ตาม แต่เมื่อลูก ค้าได้รับเอกสารไปออกสินค้าจากท่าเรือแล้ว ธนาคารไม่เคยมีส่วนรู้เห็นในสินค้านั้นเลย

คดีเกี่ยวกับเลตเตอร์ออฟเครดิตที่ควรศึกษา
ในกรณีที่ปรากฏว่าสินค้าที่ส่งมาถึงลูกค้าแตกต่างกับสินค้าที่สั่งไปมากมายจนลูกค้าไม่อาจรับสินค้านั้นไว้ได้ ต้องระลึกไว้ด้วยว่า “เครดิตย่อมแยกเด็ดขาดจากสัญญาซื้อขายหรือสัญญาอื่นซึ่งเป็นมูลฐานแห่งเครดิตนั้น ธนาคารย่อมไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือผูกพันในสัญญานั้น ๆ ทุกกรณี ในการปฏิบัติเกี่ยวกับเครดิตประเภทมีเอกสารประกอบ ให้คู่กรณีทุกฝ่ายถือเอาความถูกต้องของเอกสาร ไม่ใช่ถือเอาความถูกต้องในสินค้า” เมื่อลูกค้ารับเอกสารแล้วนำไปรับสินค้าจากท่าเรือ ธนาคารไม่ต้องรับผิดชอบเมื่อแบบฟอร์มของเอกสารไม่สมบูรณ์ หรือข้อความตามเอกสารนั้นเป็นเท็จ และธนาคารไม่ต้องรับผิด ชอบเกี่ยวกับ ปริมาณ น้ำหนัก คุณภาพ สภาพ การบรรจุหีบห่อ การส่งมอบ มูลค่า หรือลักษณะสินค้าที่ระบุในเอกสาร หรือการกระทำหรือละเว้นการกระทำ ความสามารถในการชำระหนี้ การปฏิบัติตามสัญญาหรือฐานะของผู้ส่งสินค้า ผู้รับขน หรือผู้รับประกัน ภัยในสินค้า หรือบุคคลอื่นใดก็ตาม

ดังนั้น ในคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตควรระบุด้วยว่า ให้สำนักงานตรวจสอบมาตรฐานสินค้าแห่งเมืองท่าต้นทางเป็นผู้รับรองคุณภาพของสินค้าที่สั่งซื้อก่อนส่งลงเรือ และควรทราบด้วยว่า อายุความในการฟ้องเรียกเงินตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิต มีอายุความ 10 ปี

สรุป ธนาคารผู้เปิดเครดิตเพียงรับรองฐานะของผู้ซื้อและประกันต่อผู้ขายที่จะชำระราคาสินค้าให้ตามข้อสัญญาในเลตเตอร์ออฟเครดิตเท่านั้น ธนาคารไม่ใช่ตัวแทนไปจัดซื้อสินค้าให้ผู้ซื้อ เมื่อมีการผิดสัญญาซื้อขายจึงไม่เกี่ยวพันธนาคาร ธนาคารจะรับผิดเฉพาะการจ่ายเงินให้ผู้ขายไปผิดจากคำสั่งของลูกค้าตามที่ปรากฏในคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตเท่านั้น นอกจากนี้แล้วธนาคารไม่ต้องรับผิด

สำหรับสาระน่ารู้เกี่ยวกับการนำเข้า-ส่งออก สอบถามได้ผ่านเวปของ สสท. มี
· INCO TERMS (International Commercial Terms)
· การส่งสินค้าทางทะเล-ทางอากาศ
· การนำสินค้าเข้าและการส่งสินค้าออก
· เงื่อนไขการชำระค่าสินค้า และการชำระเงินผ่านธนาคาร
· การประกันภัยขนส่งสินค้ากับการค้าระหว่างประเทศ
· ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรากับการนำเข้าและส่งออก
· พิธีการศุลกากรและการประเมินอากรสินค้าขาเข้า
· มาตรการส่งเสริมการส่งออกทางด้านภาษี
· กฎหมายศุลกากรของไทยที่ควรทราบ

ที่มา http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?passTo=f241731bd26874e0a13071a66b4f289d&pageid=6&bookID=589&read=true&count=true

เลตเตอร์ออฟเครดิต สำหรับ การค้าระหว่างประเทศ

เลตเตอร์ออฟเครดิต สำหรับ การค้าระหว่างประเทศ
ดร.นระ คมนามูล



“เลตเตอร์ออฟเครดิต” สำหรับการซื้อขายสินค้าส่งออกและสินค้านำเข้า

การค้าระหว่างประเทศเป็นการซื้อขายตามตัวอย่างหรือตามค่าพรรณนา ผู้ซื้อและผู้ขายไม่ได้พบปะเจรจากัน ดังนั้นเพื่อช่วยให้ผู้ซื้อมีความมั่นใจว่า จะได้รับสินค้าที่มีคุณภาพและปริมาณถูกต้องตามที่สั่ง และผู้ขายจะได้รับชำระราคาครบถ้วน จึงได้คิดบัญญัติตราสาร “เลตเตอร์ออฟเครดิต” เป็นสื่อกลางอำนวยความสะดวกทางการค้าระหว่างประเทศ

เลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit หรือตัวย่อว่า L/C) คือ ตราสารซึ่งธนาคารออกให้แก่ผู้ขอเปิดเครดิต เพื่อไปแสดงว่าธนาคารผู้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิต ตกลงจะชำระเงินจำนวนหนึ่งให้แก่ผู้รับประโยชน์ ซึ่งได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ กำหนดไว้เรียบร้อยแล้ว
รายการที่ควรทราบ มีดังนี้

ก) เลตเตอร์ออฟเครดิตมี 2 ชนิด คือ
1. เลตเตอร์ออฟเครดิตชนิดเพิกถอนได้ (Unconfirmed revocable credit)
เครดิตชนิดนี้ ธนาคารผู้ออกเครดิตอาจแก้ไขหรือยกเลิกเสียได้ก่อนที่ธนาคารตัวแทนในต่างประเทศจะจ่ายเงินตามที่ได้รับรองไว้
2. เลตเตอร์ออฟเครดิตชนิดเพิกถอนไม่ได้ (Confirmed irrevocable
credit) เครดิตชนิดนี้ ธนาคารผู้ออกเครดิตไม่มีสิทธิแก้ไขหรือยกเลิก เว้นแต่จะได้รับคำยินยอมจากบุคคลผู้เกี่ยวข้องในเครดิตทุกฝ่าย

ดังนั้น ในเลตเตอร์ออฟเครดิตจะต้องระบุชนิดของเครดิตไว้ว่าเป็นชนิด “เพิกถอนได้” หรือ “เพิกถอนไม่ได้” หากไม่ระบุไว้ ให้ถือว่าเป็นชนิดเพิกถอนได้ (ตามกฎข้อบังคับของสภาหอการค้า ฉบับที่ 222 ข้อ 1)

ข) ระบุเอกสารประกอบ เช่น
1. ใบตราส่ง (Bill of Lading หรือ B/L) ซึ่งบริษัทเรือผู้ขนส่งออกให้แก่
ผู้ส่ง แสดงรายการสินค้าที่ส่ง ใบตราส่งจึงเป็นสัญญาผูกมัดผู้ขนส่งและผู้ส่ง อีกทั้งเป็นตราสารแสดงสิทธิของผู้ทรงและยอมสลักหลังโอนกันได้ (ตาม ป.พ.พ. มาตรา 613, 614)
2. ใบกำกับสินค้า (Invoice) คือ ตราสารที่ผู้ขายสินค้าทำขึ้นแสดงราย
ละเอียดและราคาของสินค้าที่ขาย แต่ใบกำกับสินค้านี้ อาจตกลงกันให้สถานกงสุลเป็นผู้ออกแทนผู้ขายก็ได้ และเพื่อยืนยันคุณภาพอาจมีใบแสดงต้นกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin) ซึ่งหอการค้าของประเทศผู้ขาย เป็นผู้ขายเป็นผู้รับรอง กับอาจมีรายละเอียดการบรรจุและน้ำหนักของสินค้า (Packing and weight list) ส่งมาด้วย
3. กรมธรรม์ประกันภัย (Insurance policy) ซึ่งผู้รับประกันภัยออกให้ใน
การรับประกันภัยสินค้าที่ขนส่ง กรมธรรม์ประกันภัยต้องระบุภัยที่รับประกัน แต่ส่วน มากมักจะระบุประกันภัยทุกชนิด (all risks)

ค) เงื่อนไขของสัญญาซื้อขายมีชื่อเรียกขานแตกต่างกัน คือ
1. ราคาจากโรงงานหรือจากคลังสินค้า
2. ราคา FAS (Free Along Side or Free Alongside Ship) คือราคาสิน
ค้าที่บวกค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ส่งมอบถึงท่าเรือหรือข้างเรือบรรทุกสินค้า
3. ราคา FOB (Free on Board) คือราคาสินค้าที่บวกค่าใช้จ่ายต่าง ๆ
และค่าขนถึงบนเรือบรรทุกสินค้าของเมืองท่าต้นทาง ซึ่งส่วนมากนิยมใช้เงื่อนไขนี้
4. ราคา C & F (Cost and Freight) คือราคาสินค้าที่บวกค่าใช้จ่ายต่าง ๆ
ค่าขนและค่าระวางเรือถึงเมืองท่าปลายทาง
5. ราคา C I F (Cost Insurance and Freight) คือราคาสินค้าที่บวกค่าใช้
จ่ายต่าง ๆ ค่าขน ค่าระวางเรือ และค่าประกันภัยถึงเมืองท่าปลายทาง

ง) เงื่อนไขการชำระ ตามปกติชำระกันโดยวิธีออกตั๋วแลกเงิน จึงต้องระบุว่าธนาคารจะจ่ายเงินทันทีเมื่อเห็น หรือเมื่อผู้ขายยื่นเอกสารแสดงการส่งสินค้าแล้วแก่ธนาคารตัวแทน หรือมิฉะนั้นธนาคารรับรองการชำระเงินตามระยะเวลาที่ระบุไว้ในตั๋ว

เนื่องจากการค้าระหว่างประเทศมีข้อยุ่งยาก เพราะกฎหมายและประเพณีที่ใช้แตกต่างกัน “สภาหอการค้านานาชาติ” ซึ่งมีหอการค้าประเทศต่าง ๆ เป็นสมาชิกได้ประมวลข้อบังคับให้หอการค้าสมาชิกปฏิบัติตาม และกฎข้อบังคับที่ใช้ได้แก้ไขปรับปรุงเรื่อยมา จนปัจจุบันนี้ได้ใช้กฎข้อบังคับแก้ไขเพิ่มเติม ค.ศ.1993

ธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยได้ใช้กฎข้อบังคับของสภาหอการค้านานาชาติดังกล่าวเป็นข้อตกลงและถือเป็นประเพณีการค้าต่อลูกค้า และได้ระบุความนี้ไว้ในแบบสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตว่า “This Credit is subject to the Uniform Customs and Practice for Documentary Credit (1993 Revision) fixed by the International Chamber of Commerce, Publication No. 500, of which we have good knowledge and understanding ” หรือในภาษาไทยว่า “เครดิตนี้ให้ถือปฎิบัติตามข้อบังคับในระเบียบประเพณีและพิธีปฏิบัติเกี่ยวกับเครดิตที่มีเอกสารประกอบ (แก้ไขเพิ่มเติมปี 1993) ของสภาหอการค้านานาชาติ ฉบับที่ 500 ซึ่งถือว่าลูกค้าทราบประเพณีการค้าด้วยแล้ว”

ตามประวัติ “เลตเตอร์ออฟเครดิต” เดิมเรียกว่า “บิลออฟเครดิต” เริ่มใช้เมื่อราวปี พ.ศ. 1744 โดยพวกพระ พวกเจ้า และผู้ครองนครในกรุงโรมได้ใช้เป็นเครื่องมือสื่อกลางแทนเงินที่จะนำติดตัวในการเดินทางไกล โดยให้ผู้ถือบิลออฟเครดิตไปเบิกเงินเอาจากพวกบริวารของตนที่อยู่ตามหัวเมืองต่าง ๆ ซึ่งเป็นทางผ่าน และ “เลตเตอร์ออฟเครดิต” ได้ถูกนำมาใช้สำหรับผู้เดินทางและนำมาใช้ทางการค้าทั้งในและนอกประเทศ

ที่มา http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?passTo=f241731bd26874e0a13071a66b4f289d&pageid=5&bookID=589&read=true&count=true

ลักษณะธุรกิจแบบโลจิสติกส์ในด้านบริการ

การที่จะสร้างและทำธุรกิจแบบโลจิสติกส์ในด้านบริการ มี 4 ลักษณะคือ
· แบบในประเทศ
· แบบสากลระหว่างประเทศ(การส่งออก)
· งานโครงการขนาดใหญ่ที่มีการใช้รถเครื่องกลขนาดใหญ่และรถบรรทุกขนาดใหญ่
· การขนส่งผลิตภัณฑ์เกษตรกรรม

1. แบบภายในประเทศ การขนส่งภายในประเทศทำการกันเป็นแบบขนส่งทั่ว ๆ ไปและ
แบบส่งร่วมแต่ยังไม่ถึงมือลูกค้าโดยตรง ทุกวันนี้ มีพัฒนาการออกแบบตัวรถบรรทุกให้มีความสะดวกและทันสมัยมากขึ้น และคงอีกไม่นานนัก จะมีนักลงทุนสร้างเครือข่ายสาขาศูนย์โลจิสติกส์แต่ละภูมิภาคหลายสาขาเพื่อให้ได้รับสินค้าทั้งขาไปและขากลับ เพื่อเป็นการลดต้นทุนและเพิ่มรายได้ ซึ่งส่วนหนึ่งจะทำให้ค่าขนส่งมีราคาถูกลงได้บ้าง การก่อสร้างคลังสินค้าแบบลักษณะโลจิสติกส์จะต้องจ้างวิศวกรซึ่งมีความรู้ด้านโลจิสติกส์พอควร ทั้งนี้เพื่อออกแบบให้มีความสะดวก ปลอดภัย ทันสมัย และกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกให้ครบถ้วน ในการที่จะประกอบกิจการของแต่ละสาขานั้น ๆ รวมทั้งการใช้คอมพิวเตอร์ระบบออนไลน์ทั้งในกิจกรรมของบริษัทและที่จะขยายไปถึงลูกค้าแต่ละรายด้วย การจัดเก็บรักษา การคัดเลือกและแยกหรือรวมสินค้าเพื่อให้เกิดความสะดวกในการที่จะส่งของในคราวต่อไป

2. แบบสากลระหว่างประเทศ (การส่งออกและนำเข้าสินค้า) การขนส่งสินค้าออก
และสินค้าเข้าคือเมื่อสินค้าพร้อมที่จะส่งออกจากโกดังโลจิสติกส์ หรือคลังสินค้าของโรงงานแล้ว หมายถึงว่ามีการแพคกิ้งเป็นมาตรฐานเพื่อการส่งออกและพร้อมด้วยใบอนุญาตต่าง ๆ ถ้าจำเป็นต้องใช้แล้วบริษัทขนส่งระบบโลจิสติกส์จะดำเนินการล่วงหน้าดังนี้
- การจองเรือเดินสมุทรหรือสายการบิน (Freight forwarder)
- การผ่านพิธีการทางศุลกากรและสิทธิพิเศษต่าง ๆ ที่จะได้รับชดเชยภาษี
- นำตู้คอนเทนเนอร์มาบรรจุที่โกดังโลจิสติกส์หรือคลังสินค้าของโรงงานแล้วบรรทุกไปที่ท่าเรือที่กำหนดไว้
ระบบโลจิสติกส์สามารถให้บริการกับโรงงานที่มีสินค้าเป็นของตัวเองได้ เช่นการตรวจสินค้าที่จะส่งออกและทำบัญชีสินค้าคงคลังได้ และหากได้รับความเชื่อถือมากอาจจะให้บริการการบริหารคลังสินค้าแบบเบ็ดเสร็จและการทำแพคกิ้งลังสินค้า การบรรจุสินค้าเข้าตู้คอนเทนเนอร์เหมือนในบางประเทศก็ได้มีการดำเนินการอยู่บ้างแล้ว

3. งานโครงการขนาดใหญ่ งานก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ที่ต้องใช้เครื่องกลหนักหรือโรงงานอุตสาหกรรมหนักที่ต้องมีเครื่องจักรน้ำหนักมาก อีกทั้งยังเกี่ยวข้องกับการขนส่งวัสดุก่อสร้างหรือวัตถุดิบสำหรับการผลิตจำนวนมาก การรับงานขนส่งเคลื่อนย้ายเครื่องกลและเครื่องจักรขนาดหนักและวัสดุนี้ต้องใช้วิศวกรคิดคำนวณ สำรวจเส้นทาง วางแผนการทำงานโดยละเอียด ซึ่งงานลักษณะนี้จะต้องเขียนรายงาน ขั้นตอนในการที่จะทำงานและความเป็นไปได้อย่างละเอียดเสนอต่อเจ้าของงาน โดยใช้ระบบโลจิสติกส์มาช่วยในการจัดการและบริหารวางแผนงานต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อช่วยให้งานนั้นมีความราบรื่นด้วยดี

4. การขนส่งพืชเกษตร-ผลไม้และสัตว์น้ำ การขนส่งลักษณะนี้จำเป็นต้องใช้รถบรรทุกแบบมิดชิด มีการควบคุมอุณหภูมิ เช่นประมาณ 24 องศาสำหรับพืชเกษตร ทั้งนี้แล้วแต่พืชผักแต่ละชนิด และแช่แข็งสำหรับสัตว์น้ำ การออกแบบภายในรถบรรทุกจะต้องมีชั้นและช่องวางสินค้าเพื่อป้องกันความเสียหายจากการซ้อนทับกัน หรือใส่ภาชนะบรรจุพลาสติกโดนสามารถซ้อนกันได้ ภาชนะบรรจุที่ได้มาตรฐานสามารถใช้ได้ทั้งการส่งภายในประเทศและการส่งออกไปต่างประเทศด้วย สำหรับการขนส่งสินค้าเกษตรกรรมในปริมาณมากที่ใช้การขนส่งทางน้ำ ถ้าเป็นการส่งออกก็จะใช้เรือฉลอมซึ่งสามารถเข้าไปเทียบกับเรือเดินสมุทรได้โดยตรง

ภาชนะบรรจุ กล่องกระดาษหลายชนิดซึ่งมีความแข็งพอที่จะซ้อนกันได้สูงก็เป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้สินค้านั้นๆปลอดภัยแต่ก็ต้องเสียค่าบริการกล่องกระดาษด้วย สำหรับสินค้าที่อาจแตกเสียหายได้ง่าย ก็ต้องทำการแพ็คกิ้งใหม่หรืออาจจะใช้วิธีตอกลังไม้เพิ่ม ถึงแม้ว่าจะเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นบ้างแต่สินค้าถึงมือผู้รับโดยปลอดภัย ปัจจุบันได้มีการพัฒนาด้านบรรจุภัณฑ์อย่างมาก ในต่างประเทศที่เจริญมากแล้ว ภาชนะบรรจุมักเน้นให้มีแบบที่สวยงามอย่างพิถีพิถัน ซึ่งราคาภาชนะบรรจุอาจสูงมากพอ ๆ กับราคาสินค้า โดยเฉพาะสินค้าที่เป็นของกินและอาหาร การประหยัดพลังงานขนส่ง การขนส่งนอกจากการกำหนดความเร็วแล้ว มีการอบรมให้พนักงานขับรถคำนึงถึงการประหยัดพลังงาน กฎจราจร เส้นทางในการขนส่ง รายละเอียดการประกันภัย การบำรุงรักษาสภาพรถให้ดีตามกำหนดเวลา ปัจจุบันมีการใช้กล่องดำหรือวิธีอื่น ๆ มาใช้ตรวจสอบการทำงานของรถแต่ละคัน และตรวจสอบวิเคราะห์การสิ้นเปลืองของการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ในต่างประเทศที่เจริญมากมีการใช้ระบบดาวเทียมติดตามการเดินทางของรถแต่ละคัน ซึ่งทำให้สามารถสื่อสารกับพนักงานขับรถได้ตลอดเวลา

ที่มา http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?passTo=f241731bd26874e0a13071a66b4f289d&pageid=3&bookID=589&read=true&count=true

ระบบโลจิสติกส์และการบริหารจัดการ

ระบบโลจิสติกส์และการบริหารจัดการ

สำหรับการจัดการและการวางแผนระบบโลจิสติกส์นี้สำคัญมาก เพราะจะต้องมีแบบแผนและข้อกำหนดที่ชัดเจน โดยตั้งกฎให้ผู้ปฏิบัติทำอย่างเคร่งครัด ต้องมีการรายงานส่งเป็นลายลักษณ์อักษร และให้หัวหน้างานลงนามกำกับเพื่อตรวจสอบสินค้าอีกครั้ง แล้วจึงลงนามกำกับรับผิดชอบ และต้องมีการเขียนหมายเหตุทุกขั้นตอนการจัดการระบบโลจิสติกส์มีดังต่อไปนี้

1. การจัดระบบขนส่งลำเลียงภายในโรงงานของผู้ผลิตสินค้า สินค้าที่ผลิตต้องมีการตรวจสอบว่าได้มาตรฐานผ่านเป็นที่เรียบร้อย แล้วจึงจะทำการส่งมาเก็บไว้ในโกดัง ซึ่งการจัดการลำเลียงขนย้ายภายในโรงงาน จะต้องมีภาชนะใส่สินค้าบรรจุป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ต่อสินค้านั้น ๆ หรือทำการบรรจุใส่กล่องสินค้าสำหรับสินค้าสำเร็จรูป แล้วนำมารวมกันไว้ให้เรียบร้อยสะดวกต่อการที่จะขนส่งออกไปภายนอกโรงงานหรือจัดส่งให้กับลูกค้าต่อไป

2. การทำบัญชีสินค้าเข้าออกและสินค้าคงคลัง หัวหน้าคลังสินค้าต้องทำบัญชีสินค้าเข้าออกและสินค้าคงคลังว่ามีจำนวนเท่าไรในแต่ละวัน และบันทึกผู้ที่มารับสินค้าไปตามรายละเอียดแบบฟอร์มกรอกข้อความของโรงงาน สำหรับโรงงานที่มีการส่งออกไปต่างประเทศโดยตรง ก็ต้องประสานงานกับฝ่ายส่งออกโดยที่ฝ่ายส่งออกจะเป็นผู้ติดต่อดำเนินการด้านการขนส่งสินค้าและพิธีการศุลกากร

3. การจัดซื้อวัตถุดิบและการจัดเก็บ เพื่อให้ทันกับการผลิตแบบสนองความต้องการของลูกค้าและบริหารการจัดส่ง การผลิตอาจมีความจำเป็นในการสั่งวัตถุดิบจากที่อื่นมาทด แทนในกรณีที่วัตถุดิบที่มีอยู่ไม่พอเพียงเพื่อให้ผลิตได้ทันและจัดส่งตามใบสั่งซื้อจากลูก ค้าโดยเฉพาะลูกค้าในประเทศที่จะต้องจัดส่งให้ทันเวลาและมีลูกค้าจำนวนหลากหลาย

4. การบริหารบุคลากรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยต้องมีความรับผิดชอบต่อคุณภาพสินค้าและเวลาที่จะต้องส่งมอบสินค้า หรืออาจจะมีการโยกย้ายไปแผนกอื่น ๆ บ้าง การบริหารบุคลากรต้องมีการอบรมกันเป็นประจำถึงแม้ว่าจะไม่เกิดปัญหาใดก็ตาม ทั้งนี้เพื่อให้เข้าใจในกระบวนการผลิตสินค้า ซึ่งจะต้องส่งให้ทันเวลากับสายการผลิตของลูกค้าแต่ละราย ถ้าส่งไม่ทันก็จะทำให้การผลิตต่อเนื่องของลูกค้านั้น ๆ ได้รับผลกระทบล่าช้าตามมาด้วย

5. กรณีสินค้าผลิตไม่ได้มาตรฐาน ถ้ามีการขนส่งออกไปอาจจะถูกส่งกลับมา ทำให้เสียค่าขนส่งเพิ่มขึ้นและเสียหายต่อต้นทุนในการผลิตชดเชยโดยเปล่าประโยชน์ และจำเป็นที่จะต้องนำไปส่งอีกครั้ง ซึ่งต้นทุนการขนส่งจะเพิ่มเป็น 2 เที่ยว และการจัดเก็บสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพก็เป็นภาระในการแปรสภาพ ส่วนสินค้าคืนที่ยังพอที่จะขายลดราคาได้ ก็ต้องเก็บรักษาไว้อย่างดีรอลูกค้าที่จะมาเหมาเพื่อส่งไปขายได้อีกทั้งในประเทศและนอกประเทศ ซึ่งก็มีบริษัทรับซื้ออยู่เสมอและผู้ที่มารับซื้อไปแล้วก็ต้องมีการบริหารคลังสินค้าแบบโลจิสติกส์ด้วย

6. ระบบโลจิสติกส์ที่ทำกันอย่างดีมีคุณภาพ มีข้อสำคัญคือ รถบรรทุกและพนักงานขับรถ ต้องระลึกไว้ด้วยว่า รถบรรทุกคือเครื่องจักรชนิดหนึ่งที่ใช้นำพาสินค้าเพื่อการส่งมอบนั้น ขับเคลื่อนไปมาได้โดยอาศัยพนักงานขับรถ การเลือกใช้รถต้องให้เหมาะสมกับกิจการของตัวเองตามลักษณะของงานและต้องบำรุงรักษากันตามกำหนด ซึ่งไม่ต่างจากเครื่องจักรทั่วๆไป การประหยัดค่าน้ำมัน การประหยัดค่าสึกหรอ อุปกรณ์สิ้นเปลืองต่างๆ การประกันอุบัติเหตุและความเสียหายของสินค้า ฯลฯ นั้นเป็นงานใหญ่อีกงานหนึ่งที่อาจต้องสร้างขึ้นเป็นแผนกใหญ่อีกแผนกหนึ่งโดยเฉพาะถ้ามีงานขนส่งมาก หลายๆโรงงานมักใช้วิธีจ้างบริษัทขนส่งมารับช่วงต่อเพื่อที่จะลดภาระในองค์กร โดยจะจ้างบริษัทขนส่งที่ค่อนข้างมีบริการดี มีระบบโลจิสติกส์แบบครบวงจร นั่นคือ การบริการแบบเบ็ดเสร็จ ณ ที่เดียวที่เรียกว่า one stop service พร้อมด้วยการรายงานและให้คำปรึกษาพร้อมร่วมกันวางแผนงานกับลูกค้าตลอดเวลา

การที่จะสร้างและทำธุรกิจแบบโลจิสติกส์ในด้านบริการ มี 4 ลักษณะคือ
· แบบในประเทศ
· แบบสากลระหว่างประเทศ(การส่งออก)
· งานโครงการขนาดใหญ่ที่มีการใช้รถเครื่องกลขนาดใหญ่และรถบรรทุกขนาดใหญ่
· การขนส่งผลิตภัณฑ์เกษตรกรรม

ที่มา http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?passTo=f241731bd26874e0a13071a66b4f289d&pageid=2&bookID=589&read=true&count=true

ความหมายโลจิสติกส์ด้านการขนส่ง

ความหมาย โลจิสติกส์ ในด้านการขนส่ง
ดร.นระ คมนามูล Ph.D.(London)
วุฒิวิศวกรสาขาวิศวกรรมโยธา

โลจิสติกส์ (Logistics) หรือ ที่บางคนออกเสียงว่า ลอจิสติกส์ ซึ่งไม่น่าจะถูกต้องนัก คำนี้ตามพจนานุกรม แปลว่า การส่งกำลังบำรุง และความหมายในยุคศตวรรษที่ 19 ในเรื่องที่เกี่ยวกับการขนส่งสิ่งของ หมายถึง การวางแผนและบริหารจัดการเพื่อลำเลียงสิ่งของจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง โดยเฉพาะในทางทหารและอุตสาหกรรมการผลิตสิ่งของ แต่ถ้าอยู่ในเรื่องของการบริหารองค์กรที่มีสายงานมากและซับซ้อน หมายถึง การวางแผนและบริหารจัดการภารกิจที่มีความยุ่งยากซับซ้อน

เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ความหมายของ โลจิสติกส์ ก็เปลี่ยนไปตามวิธีการดำเนินธุรกิจของโลก ในยุคศตวรรษที่ 20 ในทางการทหาร หมายถึง การวางแผนและบริหารจัดการเพื่อการเคลื่อนกองทัพ กำลังพล ยุทโธปกรณ์ และสิ่งอุปโภคต่าง ๆ ส่วนในด้านอุตสาหกรรมและธุรกิจ หมายถึง การวางแผนและควบคุมการเคลื่อนไหลของวัตถุดิบและผลผลิต รวมไปถึงการกระจายสินค้าสู่ตลาดจนถึงผู้บริโภค โดยมีการจัดองค์กรหรือกระบวนการผลิตอย่างเหมาะสมคุ้มค่า

ปัจจุบัน โลจิสติกส์ หมายถึง ต้นทุนด้านการขนส่งของประเทศ การผลิตสินค้าหรือการบริการต่างๆ ย่อมต้องมีการติดต่อ ขนส่ง เช่น ขนส่งวัตถุดิบจากแหล่งวัตถุดิบไปยังโรงงานผ่านกระ บวนการผลิตจนเป็นสินค้า จากนั้นต้องมีการขนส่งสินค้าสู่ตลาด เพื่อกระจายให้ถึงผู้บริโภค ต้นทุนด้านการขนส่งมิได้หมายถึงเฉพาะค่าใช้จ่ายของยานพาหนะ แต่รวมถึงวิธีการบรรจุ หีบห่อ ขนถ่าย และป้อนเข้าโรงงาน หากทำได้รวดเร็ว ประหยัด มีการสูญเสียน้อย นั่นยอมหมายถึงมีต้นทุนต่ำ ในการกระจายผลผลิตสู่ตลาดและผู้บริโภคก็ต้องมีต้นทุนต่ำด้วย

ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์ จึงครอบคลุมหลายฝ่าย ตั้งแต่แหล่งวัตถุดิบ วิธีการบรรจุ ขนถ่าย กระบวนการส่ง-รับของ ผู้จัดสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งต่าง ๆ ทั้งระบบถนน ระบบราง ท่าเรือ ท่าอากาศยาน ศุลกากร และโรงเก็บสินค้า เป็นต้น ต้นทุนด้านการขนส่งจะต่ำได้ต่อเมื่อการขนถ่ายและนำส่งผลิตภัณฑ์ถึงจุดหมายโดยเร็ว สูญเสียน้อย สินค้าถึงมือผู้รับตามเวลาโดยเร็ว ขั้นตอนกระบวนการศุลกากรทั้งนำเข้า-ส่งออก สะดวกรวดเร็ว ไม่ต้องเสียค่าเช่าโรงเก็บสินค้าหรือตู้คอนเทนเนอร์นานวัน ลดดอกเบี้ยของต้นทุนลงได้ด้วย

การติดต่อสื่อสาร เพื่อการสั่งซื้อทั้งวัตถุดิบและสินค้า ต้องสะดวกรวดเร็วและชัดเจน ระบบการถ่ายทอดส่งข้อมูลสารสนเทศ หรือ ไอที ต้องมีเครือข่าย ที่เชื่อมต่อทั้งในประเทศและกับต่างประเทศอย่างทั่วถึง และเชื่อมโยงกับระบบอื่น ๆ ตั้งแต่แหล่งวัสดุ โรงงานผลิต กรมศุลกากรจน ถึงผู้ซื้อ และมีมาตรฐานที่เป็นสากล เพื่อมิให้มีการผิดพลาดเกิดขึ้น ไม่สูญเสีย สามารถประหยัดต้นทุนสินค้าได้ ประเทศต่าง ๆ ในโลกกำลังรณรงค์ด้านโลจิสติกส์ เพื่อลดต้นทุนผลผลิตของประเทศโดยเฉพาะด้านการขนส่ง

กลุ่มยุโรป ค่าโลจิสติกส์คิดเป็นร้อยละ 7 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(จีดีพี) สหรัฐอเมริกา คิดเป็นร้อยละ 10 ของจีดีพี ญี่ปุ่น เนื่องจากสภาพประเทศเป็นเกาะ ค่าโลจิสติกส์จึงสูงขึ้นถึงร้อยละ 11 ของจีดีพี ขณะที่ค่าโลจิสติกส์ของจีน อยู่ที่ร้อยละ 18 ของจีดีพี ทั้งนี้เนื่องจากต้นทุนด้านการขนส่งผลิตภัณฑ์เป็นค่าขนส่งร้อยละ 50 (สูงกว่าประเทศอื่นสองเท่า)

สำหรับ ประเทศไทย ยังไม่มีการศึกษาค่านี้ แต่คาดว่าสูงมาก เพราะความไม่สมบูรณ์และทันสมัยของระบบขนส่งบางชนิดที่ปกติควรประหยัดค่าใช้จ่ายมาก เช่น ทางรถไฟ และทางน้ำ โดยเฉพาะขาดการเชื่อมโยงการขนส่งต่างรูปแบบเข้าด้วยกันให้ต่อเนื่อง เช่น คอขวดของระบบทางหลวงเข้าสู่ท่าเรือหรือลานตู้คอนเทนเนอร์ของรถไฟ เป็นต้น รัฐบาลไทยจึงเร่งพัฒนาปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง ทั้งระบบเอกเทศ (single mode) การขนส่งที่สนับสนุนการขนส่งระบบอื่น (feeder mode) และการปรับปรุงระบบศุลกากรให้รวดเร็วแบบ One Day Clearance หรือ ”หนึ่งวันทันใจ” เป็นต้น เพื่อลดค่าโลจิสติกส์ของประเทศและเพิ่มศักยภาพของประเทศที่จะแข่งขันกับประเทศอื่น ๆ

อัตราค่าขนส่งสินค้าภายในประเทศของไทย พอจะประมาณได้ดังนี้
- ทางน้ำ 0.24 บาท/ตัน/กิโลเมตร (ทางแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งมีระยะทางน้ำ 379 กม.)
- ทางรถไฟ 0.57 บาท/ตัน/กิโลเมตร (ความยาวทั้งสิ้นประมาณ 4,044 กม. ทางเดี่ยว
และกำลังขยายเป็นทางคู่ประมาณ 234 กม.รอบ ๆ กทม.)
- ทางถนน 1.20 บาท/ตัน/กิโลเมตร (ความยาวทั้งสิ้นประมาณ 160,000 กม.หรือเฉลี่ย
0.30 กม./ตร.กม. เป็นทางหลวงสายหลักประมาณ 60,000 กม.)
- ทางเครื่องบิน 8.30 บาท/ตัน/กิโลเมตร (มีท่าอากาศยานทั้งสิ้น 31 แห่งเป็นท่าอากาศยาน
นานาชาติ 6 แห่ง มีจำนวนเที่ยวบิน 800-900 เที่ยว/วัน ร้อยละ 36 เป็น
เที่ยวบินภายในประเทศ)

หมายเหตุ: การขนส่งทางรถไฟ ปัจจุบันการรถไฟไทยยังไม่มีโกดังแบบโลจิสติกส์รองรับทั้งต้นทางและปลายทางสำหรับสินค้าทั่ว ๆ ไป การขนส่งทางรถไฟและโกดังสินค้าควรจะเป็นโครงการของรัฐหรือให้มีการเปิดประมูลเป็นการทั่วไปแล้วแต่ข้อกำหนดของแต่ละหน่วยราชการนั้น ๆ

ศูนย์รับและส่งกระจายสินค้า รอบ ๆ กรุงเทพมหานครมีโครงการของรัฐที่จะสร้าง 4 มุมเมืองมานานแล้ว และในภูมิภาคอีก 3 แห่งคือ ที่สุราษฎร์ธานี ขอนแก่น และพิษณุโลก แต่ยังไม่เป็นรูปธรรมและครบวงจร จากการขยายตัวของธุรกิจมาจนปัจจุบันน่าจะสร้างศูนย์รับส่งสินค้าชานเมืองไม่ต่ำกว่า 6 แห่งรอบ ๆ กทม. จึงจะพอเพียง และน่าจะเป็นองค์กรเอกชนสร้างขึ้นมาเอง แต่รัฐจะต้องอำนวยความสะดวกหลาย ๆ ด้านเพื่อจูงใจให้เกิดโครงการนี้ และจะต้องสร้างศูนย์นี้ในแต่ละจังหวัดที่มีการขนส่งมากพอ อันเป็นการที่จะได้ประโยชน์ในการลดปริมาณจราจรและประหยัดพลังงานเชื้อเพลิงต่าง ๆ อนึ่งภายในบริเวณศูนย์นี้ก็สามารถพัฒนาธุรกิจอื่น ๆ ให้เกิดขึ้นได้อีกมากมาย

ส่วน อัตราค่าถ่ายโอนเอกสาร-ข้อมูลทางธุรกิจ มีหลากหลายระดับ ตั้งแต่โดยทางไปรษณีย์ ทางโทรสาร ถึงทางอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ในส่วนของระบบการสื่อสารโทรคมนาคม แบ่งออกเป็น 3 บริการ ได้แก่

1. บริการโทรศัพท์พื้นฐาน (Fixed line service) มีผู้ให้บริการ 3 ราย โดย ณ ปี 2546 มีผู้ใช้บริการทั้งประเทศ 6.5 ล้านเลขหมาย ในภูมิภาคและในนครหลวงในสัดส่วน 3.0 : 3.5 ซึ่งชี้ให้เห็นว่าเขตนครหลวงมีโอกาสในการเข้าถึงเครือข่ายนี้สูงเป็น 7 เท่าของเขตภูมิภาค
2. บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Cellular mobile service) มีผู้ให้บริการ 8 ราย และเป็นเจ้าของเครือข่าย 5 ราย ในปี 2546 มีผู้ใช้บริการทั้งประเทศ 22.4 ล้านเลขหมาย หรือ 35.1 เลขหมายต่อประชากร 100 คน ซึ่งสูงเป็น 3.5 เท่าของบริการโทรศัพท์ประจำที่
3. บริการอินเตอร์เน็ต เป็นบริการที่อาศัยการเข้าถึงเครือข่ายผ่านทางเครือข่ายโทรศัพท์พื้นฐาน ในปี 2546 ในประเทศไทย มีผู้ให้บริการ 18 ราย เป็นผู้ให้บริการรายใหญ่ 5 ราย โดยมีผู้ใช้บริการทั้งสิ้น 6 ล้านราย อุปสงค์ต่อแบนด์วิดธ์ทั้งหมดของประเทศขึ้นถึง 79 Mbps

จาก รายงานภาพรวมโครงสร้างพื้นฐาน ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชาติ แสดงแนวโน้มการขยายตัวของ สาขาขนส่ง ในกรณีฐาน มีอัตราเพิ่มของการขนส่งสินค้า ทางชายฝั่งทะเลร้อยละ 19.2 ต่อปี ทางอากาศร้อยละ 18.6 ทางถนนร้อยละ 6.5 ทางแม่น้ำร้อยละ 5.0 และทางรถไฟร้อยละ 2.9 ในขณะเดียวกันอัตราเพิ่มของการขนส่งคนทางอากาศร้อยละ 12.8 ต่อปี ทางถนนร้อยละ 5.3 และทางรถไฟร้อยละ 1.5 ในปี 2562 คาดคะเนว่าปริมาณสินค้าที่ขนส่งภายในประเทศรวม 1,467 ล้านตัน (523.27 ล้านตันในปี 2545) โดยขนส่งทางถนนในสัดส่วนร้อยละ 83.82 ทางชายฝั่งทะเลร้อยละ 12.43 และทางรถไฟร้อยละ 1.01 เป็นต้น ในขณะที่การขนส่งคนระหว่างจังหวัดในปี 2562 จะมีจำนวน 2,047 ล้านคน เป็นทางถนนร้อยละ 95.0 ทางรถไฟร้อยละ 2.72 และทางอากาศร้อยละ 2.29 ทั้งนี้ได้จากการนำอัตราการเพิ่มของการขนส่งไปคำนวณหาเป็นตัวเลขปริมาณสินค้า จำนวนคนเดินทาง และส่วนแบ่งของการขนส่งในแต่ละประเภทด้วย

ทุกวันนี้ โลจิสติกส์ มักจะเชื่อมโยงกับการจัดการโซ่อุปทาน และระบบการประมวลข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อเร็ว ๆ นี้ สำนักพิมพ์ สสท. ของสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) ได้จัดพิมพ์หนังสือตำรา Supply Chain & Logistics: ทฤษฎีและตัวอย่างจริง ของ Prof. Tsutomu Araki แห่งมหาวิทยาลัยชิงะ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยโดย รศ.กฤษดา วิศวธีรานนท์ และ ดร.กุลพงศ์ ยูนิพันธ์

ที่มา http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?passTo=f241731bd26874e0a13071a66b4f289d&bookID=589&read=true&count=true

บทความด้านโลจิสติกส์จากหนังสือพิมพ์ สยามธุรกิจ

ลอจิสติกส์’เครื่องมือเสริมความสามารถ ทางการแข่งขันธุรกิจในปัจจุบัน ในการดำเนินการธุรกิจทั่วไป ผู้ประกอบ การต่างพยายามหาวิธีลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลงเพื่อให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้ เครื่องมือในการบริหารจัดการที่กำลังเป็นที่สนใจของธุรกิจทั้งหลาย ได้แก่ เครื่องมือทางวิศวกรรมอุตสาหการที่ใช้เพิ่ม ผลผลิต การจัดการโซ่อุปทาน (Supply Chain Management : SCM) และการจัดการลอจิสติกส์ (Logistics Management)

ลอจิสติกส์ (Logistics) หมายถึง กิจกรรมที่มีการเคลื่อนย้าย จัดเก็บสินค้า วัสดุ วัตถุดิบ เอกสาร จากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง ในระยะเวลาชั่วคราวหรือระยะเวลายาวนาน โดยมีความพยายามในการจัดการกิจกรรมต่างๆ เหล่านี้ ให้เกิดค่าใช้จ่ายโดยรวมต่ำที่สุด

ลอจิสติกส์เป็นความรู้สหวิทยาการ ที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาหลักสามสาขาวิชา คือ วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) เกี่ยว ข้องกับ วิศวกรรมอุตสาหการ (Industrial Engineering) ในการพิจารณาหาวิธีการเคลื่อนย้ายสินค้า ที่มีประสิทธิภาพมาก ที่สุด ค่าใช้จ่ายต่ำ และรวดเร็วที่สุด และอีกสาขาหนึ่งของวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยว ข้องคือ วิศวกรรมโยธา (Civil Enginee ring) ที่จะพิจารณารูปแบบการขนส่งที่เหมาะ สม และประหยัดพลังงานมากที่สุด บริหารธุรกิจ (Business Administration) เกี่ยวข้องกับการจัดการนโยบายการบริหารธุรกิจที่สัมพันธ์กับลอจิสติกส์และ ยุทธศาสตร์ ภาษี การบัญชี การเงิน ต้นทุน และการตลาดที่เกี่ยวข้อง เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) เกี่ยวข้องในการใช้อุปกรณ์ เครือข่าย โปรแกรมที่จะสนับสนุนกิจกรรม ลอจิสติกส์ให้ดำเนินไปอย่างราบรื่นที่สุด

ลอจิสติกส์ ประกอบด้วยกิจกรรมหลัก 9 กิจกรรมด้วยกัน คือ
-กระบวนการสั่งซื้อและบริการลูกค้า (order management and customer service)
-การหีบห่อบรรจุภัณฑ์ (packaging)
-การเคลื่อนย้ายวัตถุดิบภายในโรงงาน (Material Handling)
-การขนส่ง (transportation)การสินค้าคงคลัง (Inventory Control)
-การจัดการด้านโกดัง (warehouse ma- nagement)
-การจัดซื้อจัดหาวัตถุดิบ (suppliers ma- nagement)
-การกระจายสินค้า (Distribution)
-การผลิตและการจัดตารางผลิตภัณฑ์ (Production Management)
เมื่อพิจารณาจากกิจกรรมหลัก ทั้ง 9 กิจกรรม จะเห็นได้ว่า ลอจิสติกส์ ประกอบด้วยส่วนประกอบ ใหญ่ 3 ส่วน คือ
-ตำแหน่ง ที่ตั้งของสถานที่ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ (Facilities Location)
-การจัดเก็บสินค้า (Warehouse and Inventory)
-การ ขนส่ง (Transport)
การวัดประสิทธิภาพของกระบวน การลอจิสติกส์ การจัดการลอจิสติกส์จะเน้นไปที่การเชื่อมโยงระหว่างกิจกรรมตั้งแต่ขั้นตอน
-การจัดหาวัตถุดิบ (Raw Material)
-สินค้า (Goods)
-บริการ (Services) การเคลื่อน ย้ายจากต้นทาง (Source of Origin) ไปยังผู้บริโภคปลายทาง (Final Destination) โดยประสิทธิภาพของกระบวนการทางลอจิส ติกส์สามารถพิจารณาจากการบริการลูกค้าหรือการจัดส่งสินค้าถึงปลายทางได้ทันเวลา (Just in Time) และมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ การจัดการลอจิสติกส์ขององค์การยังสามารถวัดประสิทธิภาพได้จากเป้าหมายที่สำคัญคือ ความรวดเร็วในการ
-ส่งมอบสินค้า (Speed Delivery)
-ความราบรื่นของการไหลของสินค้าและข้อมูลข่าวสาร (Physical Flow and information Flow)
-การสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added)
-การลดต้นทุนการเก็บรักษาและขนส่งสินค้า (Cargo Cost)
-ความพึงพอใจของลูกค้า (Customer satisfaction)
ลอจิสติกส์ เครื่องมือเสริมความสามารถ ทางการแข่งขันธุรกิจในปัจจุบัน (จบ)คำที่มีความหมายคล้ายคลึงกับลอจิสติกส์ และบางครั้งอาจจะสร้างความสับสนให้แก่ผู้ที่ไม่ได้อยู่ในแวดวงธุรกิจ คือ โซ่อุปทาน
หลักการของโซ่อุปทาน (Supply Chain) คือ การจัดการกับทุกส่วนของ การผลิต ตั้งแต่ผู้ผลิตวัตถุดิบ ผู้ผลิตสินค้า ผู้กระจายสินค้าจนถึงผู้ค้าปลีก ให้มีส่วนร่วม รับผิดชอบในการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า โดยทุกส่วนต้องมีการประสานงาน และแลกเปลี่ยนสารสนเทศกัน โดยสรุปแล้ว กล่าวได้ว่าลอจิสติกส์เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการการจัดการโซ่อุปทาน ที่จะช่วยในการวางแผนสนับสนุนการควบคุมการไหลของกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมทั้งการเก็บรักษาสินค้าจากจุดเริ่มต้น ไปสู่จุดสุดท้าย เพื่อตอบสนองความต้องการ ของลูกค้า ลอจิสติกส์จึงเป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะนำธุรกิจไปสู่การเติบโตที่ยั่งยืนในระยะยาว สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ประมวลการพัฒนาระบบลอจิสติกส์ จากการศึกษาระบบลอจิสติกส์ของประเทศต่างๆ ได้รวม 4 ระดับชั้น คือ
1. การกระจายสินค้าทางกายภาพ (Physical Distribution) เป็นระดับที่ธุรกิจให้ความสำคัญและพัฒนาเน้นด้านของการขนส่งสินค้าจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภค โดยอาจครอบ คลุมกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ การขนส่ง การเก็บสินค้า การจัดการวัสดุ และการบรรจุหีบห่อเพื่อป้องกันการสูญเสียระหว่างการขนส่ง การพัฒนาระดับนี้ยังไม่มุ่งเน้นการลดต้นทุนในส่วนที่เป็นสินค้า คงคลัง เป็นวัตถุดิบ และเป็นสินค้าระหว่างผลิต
2.ลอจิสติกส์ภายในองค์กร (Internally Integrated Logistics) ระดับของธุรกิจที่พัฒนาในระดับนี้ จะรวมกิจกรรมลอจิสติกส์ที่เกิดขึ้นก่อนกระบวนการผลิต มีการเชื่อมโยงการจัดการภายในบริษัทตั้งแต่การรับวัตถุดิบจนถึงการจัดส่งถึงผู้บริโภค โดยมีจุดมุ่งหมายในการเปลี่ยนจากการลดสินค้าคงคลังเป็นเพิ่มความถี่ในการระบายสินค้า การพัฒนาในขั้นตอนนี้จะมีการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
3.ลอจิสติกส์ภายนอก (Externally Integrated Logistics) ระดับการพัฒนาในชั้นนี้จะเป็นการพัฒนาที่มีการเชื่อมโยงใช้รูปแบบการขนส่งทุกรูปแบบอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การมีจุดขนถ่ายสินค้าที่มีมาตรฐานโดยการ เชื่อมโยงฐานข้อมูลและระบบสารสนเทศระหว่างองค์การ
4.ลอจิสติกส์ระดับสากล (Global Lo-gistics Management) การพัฒนาการในระดับนี้จะเกิดในบริษัทข้ามชาติที่กำลังเผชิญกับปัญหากำไร ลดลงในประเทศที่ตนตั้งอยู่ ดังนั้น จึงเริ่มหาแหล่งจัดซื้อที่ถูกกว่าในต่างประเทศ ลักษณะของการพัฒนาในขั้นตอนนี้คือ การจัดซื้อวัตถุดิบและจัดส่งสินค้าจะครอบคลุมแหล่งวัตถุดิบทั่วโลก โดยการสั่งวัตถุดิบจากประเทศที่ขายราคาถูกกว่า เพื่อนำไปผลิตและขายสินค้าสำเร็จรูปโดยการขนส่งไปขายในประเทศที่มีราคาสูง ในส่วนของประเทศไทยระดับการพัฒนาลอจิสติกส์ขององค์การต่างๆ ส่วนใหญ่ยังอยู่ในขั้นเริ่มต้น คืออยู่ในขั้นตอนระหว่างการพัฒนาจากช่วง Physical Distribution เข้าสู่ช่วง Internally Integrated Logistics

ขอขอบคุณ หนังสือพิมพ์ สยามธุรกิจ

25 ตุลาคม, 2550

SAP

SAP

ความหมายของ SAP

SAP (Systems, Applications and Products in Data Processing") A company from Germany that sells the leading suite of client-server business software. The US branch is called SAP America.
SAP is a real-time and integrated software that can control all of business jobs to do in the corrected and perfect ways.

SAP คือ โปรแกรมที่ช่วยจัดการสายงานทุกสายงานของธุรกิจให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว และได้ข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำ สามารถนำไปใช้ประกอบการดำเนินกิจกรรมของธุรกิจได้ และผู้บริหารสามารถเรียกดูข้อมูลและตรวจสอบข้อมูลสถานะของบริษัทได้

กล่าวโดยสรุป SAP (System Application products) เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปทางธุรกิจประเภท
ERP (Enterprise Resource Planning) ของประเทศเยอรมันที่ใช้ควบคุมดูแลทุกสายงานของบริษัท

ประวัติของ SAP


SAP ก่อตั้งที่ประเทศเยอรมันนี เมื่อปี 1972 (พ.ศ. 2515) สํานักงานใหญ่อยู่ที่ Walldorf, Germany
โดยการรวมตัวกันของอดีตพนักงานบริษัท IBM และเจริญเติบโตจนกลายเป็นบริษัท software ที่ใหญ่เป็นอันดับ5ของโลก มีบริษัทที่มีการใช้ SAP มากกว่า 6,000 บริษัท ใช้มากกว่า 50 ประเทศ ใช้มากกว่า 9,000 site มีส่วนแบ่งในตลาด client/server software กว่า 31% มีผู้ใช้เพิ่ม 50% ต่อปี มียอดขาย SAP R/3 เพิ่มขึ้น 70% ต่อปี

เป้าหมายธุรกิจในเริ่มแรก เน้นลูกค้าที่เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ (Enterprise-scale) แต่ในปัจจุบันได้ขยายธุรกิจไปที่ลูกค้าขนาดเล็กและขนาดกลาง

• * SAP มีการสร้างระบบงานทางด้าน Financial Accounting ที่เป็นลักษณะ Real-time และ Integrate Software

• *ในปีต่อๆมา SAP ได้มีการพัฒนาระบบงานเพิ่มทางด้าน Material Management, Purchasing, Inventory Management และ Inventory Management และ Invoice Verification

• *ในปี 1997 ได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อบริษัทเป็น System, Anwendungen, Produkte in der Datenverarbeitung(System Applications, Products in data Processing)และได้ย้ายสำนักงานใหญ่ไปที่เมือง Walldorf

• *จากนั้น SAPก็ได้พัฒนาระบบงานเพิ่มขึ้น เช่น Assets Accounting เป็นต้น

• * ในปี 1978 SAP ได้เสนอระบบงานที่เป็น Enterprisewide Solution ที่ชื่อว่า SAP/R2 ซึ่งทำงานอยู่บนระบบ Mainframe พร้อมกับเพิ่มระบบงานทางด้าน Cost Accounting

• *ในปี 1992 SAP ได้เสนอระบบงานที่ทำงานภายใต้ Environment ที่เป็น 3 Tier Clien/Server บนระบบ UNIX ที่ชื่อว่า SAP R/3

ในปี พ.ศ. 2532 SAPได้ตั้งสํานักงานใหญ่ประจําภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกที่ประเทศสิงคโปรเพื่อ
เป็นการรองรับการขยายตัวทางธุรกิจในเอเซียใต้และประเทศย่านแปซิฟิก ต่อมาได้ขยายสาขาในภูมิภาคนี้ใน ออสเตรเลีย อินเดีย อินโดนิเซีย มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ และประเทศไทย
กรกฎาคม พ.ศ. 2546 องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยได้เลือกใช้ mySAP Supplier Relationship
Management (SRM) เพื่อมาช่วยในการจัดซื้อจัดจ้าง และก่อให้เกิด Supplier network ขึ้นมา โดยหวังว่าในที่สุดจะทําให้มีการจัดซื้อจัดจ้างที่รวดเร็วขึ้นและลดต้นทุนในการดําเนินธุรกิจได้ ซึ่งมีผลต่อ 10 บริษัทที่เป็นคู่ค้าขององค์การโทรศัพท์

ลูกค้าที่สําคัญของ SAP ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกคือ Singtel, Tata Group of Companies, Siam Cement, Telom Asia, PT Astra, San Miguel, Uniliver, FAW-Volkswagen, Sony Computer Entertainment, 7-Eleven Stores, General Motors, Novartis
ผลิตภัณฑ์ของ SAP

ระบบ SAP ประกอบด้วย หลาย module ของแต่ละส่วนของการจัดการที่เอามารวมกันและทำงานร่วมกัน เนื่องด้วยตลาดและความต้องการของลูกค้าเป็นตัวกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงของระบบ มีบริษัท software ที่พยายามสร้างโปรแกรมที่สนับสนุนแต่ละส่วนของธุรกิจ ในขณะที่ SAP พยายามสร้าง software ที่เหมาะสม กับทุกธุรกิจ SAP โดยให้โอกาสเลือกใช้แค่ระบบเดียวแต่สามารถทำงานได้กับทุกส่านของธุรกิจ ทั้งยังสามารถติดตั้ง R/3 application มากกว่า 1 ตัวเป็นการเพิ่มความเร็วในการทำงาน SAPมีหลาย Module มีหน้าที่ที่ต่างกัน แต่ทำงานร่วมกัน เป็นหนึ่งเดียว (แต่ละ Module คือแต่ละส่วนของธุรกิจ) ผลิตภัณฑ์SAPมี 2 กลุ่ม คือ SAP R/2 ใช้สำหรับเมนเฟรม และ SAP R/3 ใช้กับระบบ client/server SAP เป็นบริษัทของ German แต่แยกการทำงานเป็น บริษัทย่อย, หุ้นส่วน, และ พันธมิตรทางธุรกิจทั่วโลก

ที่มา http://www2.cs.science.cmu.ac.th/seminar/2547/SAP/history.htm

ERP

ERP

ความหมายของ ERPERP
ย่อมาจาก Enterprise Resource Planning ถ้าแปลตรงตัวก็คือ การวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กรโดยรวม หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ การบริหารเพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างสูงสุดของทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กร

ระบบ ERP เป็นระบบสารสนเทศ ที่องค์กรสามารถนำแนวคิดและวิธีการบริหารของ ERP มาทำให้เกิดเป็นระบบเชิงปฏิบัติในองค์กร กล่าวคือ ระบบ ERP เป็นระบบสารสนเทศในองค์กรที่สามารถบูรณาการ (Integrate) รวมงานหลัก ( Core business process ) ต่างๆ ในบริษัททั้งหมด ได้แก่ การจัดซื้อจัดจ้าง การผลิต การขาย การบัญชี และการบริหารบุคคล เข้าด้วยกันเป็นระบบที่สัมพันธ์กันและสามารถเชื่อมโยง ณ .เวลานั้นทันที (real time)

บทบาทของ ERP คืออะไร
สภาพธุรกิจที่มีขนาดใหญ่และมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เป็นผลทำให้เกิดการเชื่อมโยงของกิจกรรมสร้างมูลค่าให้กับลูกค้า ของแผนกต่างๆที่เกี่ยวข้อง ยาวและซับซ้อนขึ้น และเมื่อความเชื่อมโยงของกิจกรรมต่างๆขยายใหญ่และซับซ้อนขึ้น ถ้าไม่มีระบบข้อมูลในการจัดการที่ดี โอกาสที่จะเกิดปัญหาในการรับรู้สภาพการเชื่อมโยงของกิจกรรมย่อมทำได้ยาก และผลที่ตามมาคือ ข้อมูลมากแต่ไม่รู้ว่าข้อมูลอันไหนที่เป็นประโยชน์ในการตัดสินใจที่จะลงทุนและบริหารทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพได้

ดังนั้น ERP ก็คือ เครื่องมือที่นำมาใช้ในการบริหารธุรกิจเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ในเชิงบริหารที่เกิดขึ้นดังกล่าว อีกทั้งจะช่วยให้สามารถวางแผนการลงทุนและบริหารทรัพยากรขององค์กรโดยรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังรูปต่อไปนี้

ประโยชน์ในการนำ ERP มาใช้• เกิดการปฏิรูปการทำงาน- การเพิ่มประสิทธิภาพและความเหมาะสมให้กับกระบวนการทางธุรกิจ- การทำให้การบริหารงานได้รวดเร็ว ไวต่อเหตุการณ์- การลดลงของค่าใช้จ่ายโดยรวมขององค์กร

• เกิดการปฏิรูปการบริหารธุรกิจ- ความสามารถในการรับรู้สภาพการณ์โดยรวมของการบริหารได้แบบเรียลไทม์ - ความสามารถในการปรับเปลี่ยนเพื่อให้องค์กรโดยรวมมีประสิทธิภาพสูงสุด- ความสามารถในการตัดสินใจได้รวดเร็วทันต่อเหตุการณ์

• เกิดการปฏิรูปวัฒนธรรมและวิถีขององค์กร- การเป็นตัวเองและความกระตือรือร้นของพนักงาน- การใช้ความสามารถของพนักงานให้เกิดผลสำเร็จ- การใช้ความคิดสร้างสรรค์ของพนักงานในการบริหารองค์กรให้เกิดผลสำเร็จ

ERP PACKAGE คืออะไร
ERP PACKAGE เป็น application software package ซึ่งผลิตและจำหน่ายโดยบริษัทผู้จำหน่าย ERP package เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างและบริหารงานระบบ ERP โดยจะใช้ ERP package ในการสร้างระบบงานการจัดซื้อจัดจ้าง การผลิต การขาย การบัญชี และการบริหารงานบุคคล ซึ่งเป็นระบบงานหลักขององค์กรวิสาหกิจขึ้นเป็นระบบงานสารสนเทศรวมขององค์กร โดยรวมระบบงานทุกอย่างไว้ในฐานข้อมูลเดียวกัน

ลักษณะเด่นของ ERP package

1. มีคุณสมบัติที่เป็น online transaction system เพื่อให้สามารถใช้งานแบบเรียลไทม์ได้
2. รวมข้อมูลและ information ต่างๆ เข้ามาที่จุดเดียว และใช้งานร่วมกันโดยใช้
3. มี application software module ทีมีความสามารถสูงสำหรับงานหลักๆของธุรกิจได้อย่างหลากหลาย
4. มีความสามารถในการใช้งานในหลายประเทศ ข้ามประเทศ จึงสนับสนุนหลายภาษา หลายสกุลเงินตรา
5. มีความยืดหยุ่น และสามารถปรับเปลี่ยน ขยายงานได้ง่ายเมื่อระบบงานหรือโครงสร้างองค์กรมีการเปลี่ยนแปลง
6. มีขั้นตอนและวิธีการในการติดตั้งสร้างระบบ ERP ในองค์กรที่พร้อมและชัดเจน
7. เตรียมสภาพแวดล้อม (ระบบสนับสนุน) สำหรับการพัฒนาฟังก์ชั่นที่ยังขาดอยู่เพิ่มเติมได้
8. สามารถใช้กับเทคโนโลยีสารสนเทศใหม่ๆได้
9. ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เป็นมาตรฐานระดับโลก มีความเป็นระบบเปิด (open system)
10. สามารถอินเทอร์เฟส หรือเชื่อมโยงข้อมูลกับระบบงานที่มีอยู่แล้วในบริษัทได้
11. มีระบบการอบรมบุคลากรในขั้นตอนการติดตั้งระบบ
12. มีระบบสนับสนุนการดูแลและบำรุงรักษาระบบ

ที่มา http://www.td-star.com/content/english/product_erp.html

ความเป็นมาของ EDI ในประเทศไทย

แนวทางการพัฒนาระบบข้อมูลสื่อสารในประเทศไทยด้วยระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ EDI ได้ถูกริเริ่มกันมาเป็นเวลานานกว่า 10 ปี จนเมื่อวันที่19 กันยายน พ.ศ. 2538 คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้จัดตั้งบริษัทผู้ให้บริการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ขึ้น ในนาม บริษัท เทรดสยาม จำกัด โดยมีวัตถุประสงค์หลักที่จะมุ่งเน้นให้ บริษัท เทรดสยาม จำกัด เป็นองค์กรกลางที่ให้บริการ EDI ทางการค้าระหว่างประเทศแก่หน่วยงานทั้งทางภาครัฐบาลและภาคเอกชน นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นให้บริษัทเทรดสยาม จำกัด เป็นศูนย์กลางในการบริการส่งเสริมให้เกิดการใช้ EDI อย่างแพร่หลายโดยเฉพาะในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศ

แนวทางการดำเนินงานของบริษัท เทรดสยาม จำกัด ถูกจัดตั้งขึ้นในรูปของการร่วมทุนระหว่างภาครัฐบาลและภาคเอกชน โดยมีสัดส่วนการลงทุนระหว่างภาครัฐบาล สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และภาคเอกชน ในสัดส่วนคิดเป็น 49:6:45 โดยไม่ให้มีองค์กรใดองค์กรหนึ่งถือหุ้นเกิน 25% เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินงานสามารถปรับตัวตอบสนองความต้องการและการแข่งขันในตลาดการค้าระหว่างประเทศได้อย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกันเพื่อให้ภาครัฐบาลมีบทบาทในการควบคุมและกำกับการดำเนินงานป้องกันการนำข้อมูลที่เกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศซี่งถือเป็นข้อมูลของทางราชการไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม

และนับตั้งแต่วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2540 ที่บริษัท เทรดสยามได้จดทะเบียนจัดตั้งและเริ่มดำเนินการอย่างเป็นทางการ ศูนย์บริการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ จึงได้เริ่มเกิดขึ้นอย่างเต็มรูปแบบในประเทศไทย

ที่มา http://www.tradesiam.com/edi/index.html

EDI คืออะไร

Electronic Data Interchange (EDI) หมายถึง การแลกเปลี่ยนข้อมูลธุรกิจ ที่ใช้อยู่เป็นประจำในรูปแบบมาตรฐานผ่านทางคอมพิวเตอร์ รูปแบบมาตรฐานที่ใช้จะต้องได้รับการยอมรับจากกลุ่มผู้แลกเปลี่ยนข้อมูล หรือเลือกมาจากมาตรฐานที่พัฒนาจากสถาบันที่ได้รับการยอมรับในการออกมาตรฐานต่าง ๆ เช่น American National Standard Institute (ANSI) หรือ International Standards Organization (ISO) EDI เป็นเทคโนโลยีหลักที่ใช้ในธุรกิจอิเลคทรอนิกส์ (Electronic Commerce) เอกสารจำพวกใบสั่งซื้อ, ใบเสนอราคา, ใบกำกับสินค้า และเอกสารอื่น ๆ เมื่อนำ EDI มาใช้แทนได้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากเช่นเดียวกับเทคโนโลยีอื่น ๆ EDI ไม่ได้เป็นเป้าหมายโดยตัวของมันเอง เมื่อได้ใช้งานจะเกิดผลประโยชน์ทางด้าน IT เช่น ลดค่าใช้จ่ายในการคีย์ข้อมูล, ได้ข้อมูลที่ถูกต้องมากขึ้น, ติดต่อสื่อสารได้รวดเร็วขึ้น และลดงานทางด้านเอกสารซึ่งจะช่วยในการตัดสินใจให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ที่มา http://www.tradesiam.com/edi/index.html

ความเป็นมาของ EDI

ในโลกปัจจุบัน เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกกันว่า E-Commerce เข้ามามีบทบาทต่อตัวเรามากเพียงใดนอกจากความสามารถ และศักยภาพที่อินเตอร์เน็ตได้พัฒนาให้ทุกระบบสื่อสารสามารถติดต่อถึงกันทั่วโลกได้ในระยะเวลาอันสั้น มาในวันนี้ระบบการสื่อสารของE-Commerce ได้พัฒนาขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง โดยมุ่งเน้นที่จะนำระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาใช้จัดการระบบงานต่างๆทางด้านธุรกิจเพื่อให้เกิดความคล่องตัว รวดเร็วและถูกต้องแม่นยำมากยิ่งขึ้น

การพัฒนาศักยภาพ E-Commerce ดังกล่าว รวมระบบ EDI (ElectronicData Interchange) เข้าเป็นส่วนหนึ่งในปัจจุบัน ระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ EDI มิได้หยุดยั้งเพียงแค่การช่วยลดขั้นตอน, ค่าใช้จ่ายและลดเวลาของงานด้านเอกสาร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดเก็บข้อมูลและประสิทธิภาพของการประสานงานในการติดต่อพิธีการต่างๆกับระบบการขนส่งที่ถูกต้องแม่นยำเท่านั้นหัวใจสำคัญของการบริการอยู่ที่การสร้างระบบข้อมูลที่เป็นมาตราฐานมีความสามารถในการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และการนำข้อมูลมาบริหารเพื่อการค้าอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพทั้งในแง่ของการแสดงสถานะของบริษัทและความสามารถทราบถึงการเชื่อมโยงการบริหารระบบข้อมูลต่างๆ เพื่อควบคุมวัตถุดิบ, สินค้าคงคลัง และระบบการเงินที่เหมาะสม ของแต่ละลูกค้าได้อย่างชัดเจนอีกด้วย

จะเห็นได้ว่าหากผู้ใช้บริการ EDI มีโครงสร้างข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำ โครงสร้างข้อมูลดังกล่าวจะมีบทบาทอย่างมากในการดึงกลับมาใช้พัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถของธุรกิจ ซึ่งหมายรวมถึงการพัฒนาโครงสร้างโดยรวมของประเทศ

แนวทางการพัฒนาระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ในระดับสากล ได้มีการพัฒนามาแล้วเป็นเวลาช้านาน ไม่เพียงแต่ในทวีปยุโรปและทวีปสหรัฐอเมริกาที่ได้มีการตื่นตัวเรื่อง EDI แต่ในเพื่อนบ้านเราแถบทวีปเอเซียเองก็ได้พัฒนาใช้ระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านทางระบบ EDI จนประสบความสำเร็จมาเป็นเวลานานแล้ว ไม่ว่าจะเป็นสิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เป็นต้น

ที่มา http://www.tradesiam.com/edi/index.html

ระบบด้านโลจิสติกส์

ระบบJASTran
ระบบขนส่ง ที่สมบูรณ์แบบ
ครบทุกความต้องการ ลดต้นทุนของกิจการ เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานJASTran เป็น โปรแกรมบริหารขนส่ง ( Transportation Management Program ) ใช้ในการพิมพ์ใบรับส่งสินค้า จัดทำ Barcode ออกใบคุมรถ จัดทำใบวางบิล เก็บข้อมูลผู้ส่งสินค้า ผู้รับสินค้า คนขับรถ ประวัติของรถ ข้อมูลสินค้า โดยสามารถใช้งาน ข้อมูลร่วมกันได้ ในกรณีที่ บริษัทขนส่ง มากกว่า 1 สาขานอกจากนั้นแล้วยังมีระบบตรวจสอบสถานการณ์จัดส่งผ่านโปรแกรมและผ่านทางเว็บไซด์ รองรับระบบ Barcode Scanner และ Pocket PC เพื่อเพิ่มความสะดวกรวดเร็ว และเพิ่มความแม่นยำในการจัดส่ง เหมาะสำหรับ
บริษัท Logistic
บริษัทขนส่ง
หน่วยงานขนส่ง
ศูนย์กระจายสินค้า



ระบบงานเดิม
•เขียนใบรับสินค้าด้วยมือ
•เสียเวลาลอกรายการใบรับสินค้า เพื่อนำมาเขียนใบคุมรถ
•ศูนย์กระจายไม่สามารถจัดเส้นทางได้ล่วงหน้า
•เสียเวลาในการค้นหาใบรับสินค้า
•เสียเวลาในการรวบรวมรายละเอียดเพื่อจัดทำใบวางบิล
•เกิดรายการใบรับสินค้าตกหล่น ไม่ได้ออกใบวางบิล
•ลูกค้าตรวจสอบสถานะการจัดส่งได้ลำบาก

ระบบ JASTran
ออกใบรับสินค้าด้วยคอมพิวเตอร์
•สามารถนำรายการใบรับสินค้า มาจัดทำใบคุมได้อย่างรวดเร็ว
•สามารถส่งข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ทเพื่อให้ศูนย์กระจายจัดเส้นทางได้ล่วงหน้า
•ค้นหาใบรับสินค้าได้สะดวกรวดเร็ว ตรวจสอบสถานะการจัดส่งสินค้าได้
•สามารถนำรายการใบรับสินค้า มาจัดทำใบวางบิลได้อย่างรวดเร็ว ลดปัญหาใบรับสินค้าตกหล่น ไม่ได้ออกใบวางบิล
•มีระบบ Barcode เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการทำงาน


โปรแกรมขนส่ง

ระบบออกใบรับขนส่งสินค้า
•สามารถใส่รายละเอียดเกี่ยวกับผู้รับ-ผู้ส่ง และข้อมูลสินค้า
•สร้าง Barcode สำหรับติดใบรับสินค้า และติดกับสินค้า
•ค้นหา แก้ไข ยกเลิกรายละเอียดใบรับขนส่งได้ตามต้องการ
•สามารถเลือกชำระทั้งแบบเงินสด หรือเครดิตเพื่อรอจัดทำใบวางบิล
•สามารถเลือกชำระจาก ต้นทาง หรือ ปลายทางได้
•แสดงประวัติการขนส่งระหว่างผู้ส่งกับผู้รับ สามารถดึงข้อมูลมากรอกลงฟอร์มอัตโนมัติได้

ระบบออกใบคุมรถ(ใบสั่งงาน)
•นำรายการใบรับสินค้าที่ต้องการมาออกเป็นใบคุมรถ
•กำหนดเที่ยวรถ,คนขับ,พนักงานจัดสินค้า
•กำหนดเวลาออกเดินทาง,เวลาถึง, ระยะทางที่ใช้,คุมค่าน้ำมัน และค่าใช้จ่ายอื่นๆ
•ค้นหา แก้ไข ใบคุมรถได้ตามต้องการ
•ใบคุมรถแยกตามจังหวัดปลายทาง


ระบบใบกระจายสินค้า
•นำรายการใบรับสินค้าที่ต้องการมาออกเป็นใบกระจายสินค้า
•กำหนดเที่ยวรถ,คนขับ,พนักงานจัดสินค้า
•กำหนดเวลาออกเดินทาง,เวลาถึง, ระยะทางที่ใช้,คุมค่าน้ำมัน และค่าใช้จ่ายอื่นๆ
•ค้นหา แก้ไข ใบกระจายสินค้าได้ตามต้องการ
•จัดกลุ่มตามเส้นทางกระจายสินค้าได้
•นำไปออกเป็นรายงาน ค่าแรงพนักงานขับรถรายวันได้


ระบบเซ็นรับเอกสาร/บันทึกการรับสินค้า
•มีระบบเซ็นรับของ Online ผ่าน Pocket PC
•หรือสามารถเซ็นรับของที่ใบกระจายสินค้าหรือใบคุมรถ และนำกลับมากรอกบันทึกการรับสินค้าที่ Office ได้ โดยกรอก เลขที่ใบรับ/ส่งสินค้า,วันที่รับ,เวลา,ชื่อผู้รับ,ตำแหน่ง และ หมายเหตุ

ระบบบันทึกการคืนสินค้าต้นทาง / สินค้าตีกลับ
•กำหนดเลขที่ใบรับ/ส่งสินค้า,วันที่คืน,เวลา,ประเภทการส่งคืน (ทั้งหมด,บางส่วน)
•สาเหตุการส่งคืน และ หมายเหตุ


ระบบออกใบวางบิล
•สามารถนำรายการใบรับ-ส่งสินค้าที่ชำระแบบเครดิตมาออกใบวางบิลได้
•มีใบวางบิลสำหรับงานเหมาคัน (บิลเหมา)
•ทำรายงานแจ้งใบรับขนส่งที่ยังไม่ได้ออกใบวางบิลได้
•ค้นหา แก้ไข ใบวางบิลเดิมได้
•สามารถกำหนดสถานะการชำระเงิน และตรวจสอบใบวางบิลที่ค้างชำระได้
•สามารถทำใบปะหน้าใบวางบิลได้


ระบบบัญชีเบื้องต้น
•บันทึกค่าใช้จ่ายของกิจการต่อวัน
•บันทึกรายได้ของกิจการต่อวัน


ระบบทะเบียน
•บันทึก/แก้ใข ผู้ส่งสินค้า ชื่อ ที่อยู่ โทรศัพท์ โทรสาร เบอร์มือถือ อีเมล์
•บันทึก/แก้ใข ผู้รับสินค้า ชื่อ ที่อยู่ โทรศัพท์ โทรสาร เบอร์มือถือ อีเมล์
•บันทึก/แก้ใข พนักงานขับรถ ชื่อ-สกุล ที่อยู่ โทรศัพท์ มือถือ เลขที่บัตรประชาชน วันที่เริ่มงาน วันที่ลาออก อายุงาน เลขที่ใบขับขี่ วันออกใบอนุญาต


ระบบงานซ่อมบำรุง
•ตารางการบำรุงรักษา/ซ่อมแซม
•ระบุทะเบียนและรายละเอียดการซ่อมบำรุง และจำนวนเงิน


ระบบข้อมูลพื้นฐาน
•คำนำหน้าชื่อ
•หน่วยของสินค้า
•รายการสินค้า
•ประเภทรถขนส่ง
•ทะเบียนรถขนส่ง
•รายการสาเหตุการคืน
•รายการสาเหตุการตีกลับ
•รายการค่าใช้จ่าย
•รายการรายได้
•วันหยุด
•ปลายทางแยกตามสาขา
•อำเภอ
•หัวข้อย่อยใบวางบิล
•Route กระจายสินค้า


รายงานพื้นฐานรายงานสถานะสินค้า
•สินค้าค้างที่สถานี
•รับของที่สถานี
•สินค้าตีกลับ
•สินค้าคืนต้นทาง
•สรุปสถานะ

รายงานใบรับสินค้า
•ใบรับส่งสินค้า
•การยกเลิกใบรับฝาก
•ใบรับสินค้าที่ยังไม่ออกใบวางบิล
•สรุปสถานะใบรับสินค้าค้างชำระ
•สรุปใบรับสินค้า/การชำระเงิน

รายงานการจัดส่งสินค้า
•การจัดส่งสินค้าเกินระยะเวลาที่กำหนด

รายงานเงินสด
•เงินสดค้างชำระ
•เงินสดชำระต้นทาง
•เงินสดเก็บปลายทาง
•สรุปเงินสด

รายงานลูกหนี้
•สรุปยอดหนี้
•สรุปยอดหนี้และการชำระหนี้

รายงานค่าใช้จ่าย
•ค่าใช้จ่ายประจำสาขา
•สรุปค่าใช้จ่ายประจำสาขา

รายงานรายได้ประจำสาขา
•รายได้ประจำสาขา
•สรุปรายได้ประจำสาขา

สรุปยอดค่าขนส่ง
•สรุปยอดค่าขนส่งแยกตามลูกค้า
•สรุปยอดค่าขนส่งแยกตามรถขนส่ง
•สรุปยอดค่าขนส่งแยกตามรถกระจาย

รายงานใบวางบิล

รายงานค่าแรง/ค่าจ้าง
•ค่าแรงพนักงาน
•ค่าจ้างรถร่วม

รายงานสำหรับลูกค้า
•รายงานประสิทธิภาพ KPI
•รายงานการจัดส่งสินค้า
•รายงานการคืนเอกสาร

รายงานค่าน้ำมัน
ระบบรายงานผู้บริหารแบบกราฟ


ระบบตรวจสอบสถาะขนส่งผ่าน Internet (Tracking System)
•ผู้ส่งจะได้ username,password สำหรับการเข้าระบบตรวจสอบสถานะขนส่งผ่าน Internet ได้
•สามารถดูสถิติการส่งสินค้า และ รายงานได้



ที่มา http://jastran.com/

โปรแกรมระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะ (ITS: Intelligent Transport Systems)

ITS คืออะไรITS คือการนำเอาเทคโนโลยีทางด้านข้อมูล ติตต่อสื่อสาร และคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของระบบจราจรและการขนส่งในด้านต่างๆ อาทิ ในด้านความปลอดภัย ความสะดวก ความคล่องตัวในการเดินทาง และการควบคุมการจราจร ตัวอย่างของ ITS ได้แก่ ป้ายจราจรอัจฉริยะ และระบบติดตามรถ (Tracking) เป็นต้นITS มีองค์ประกอบที่สัมพันธ์กัน 4 ส่วน ได้แก่
1. ตัวฐานรากคือโครงสร้างพื้นฐานและมาตรฐานต่างๆ อาทิ ศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลจราจร และมาตรฐานของรหัสถนน เป็นต้น
2. ยานพาหนะและชิ้นส่วนอุปกรณ์ ประกอบยานพาหนะ เช่น ระบบนำทาง
3. ผู้ใช้รถใช้ถนนทั่วไป
4. ถนนและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ติดตั้งบนถนน เช่น กล้อง หรือระบบเซ็นเซอร์นับปริมาณรถ

การดำเนินโปรแกรม ITS
1. สร้างพันธมิตรกลุ่ม ITS ทั้งในและต่างประเทศ
2. ผลักดันให้เกิดมาตรฐานด้าน ITS และสาขาทีเกี่ยวข้อง
3. ส่งเสริมการรวมตัวกัน จับคู่กันทางธุรกิจ
4. ร่วมวิจัยกับภาครัฐ มหาวิทยาลัย และเอกชน พร้อมทั้งสนับสนุนทุนการวิจัยด้าน ITS เพื่อการพัฒนา และการถ่ายทอดเทคโนโลยีโดยเน้นสนับสนุน 3 Platform Technologies ดังนี้
1. Smart Sensing Technology
2. Information Processing Technology
3. Communication Technology

ที่มา http://lanta.giti.nectec.or.th/drupal/?q=node/698

ความหมายของการจัดการโลจิสติกส์

ความหมายของการจัดการโลจิสติกส์

มีนักวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศได้ให้ความหมายของคำว่า "การจัดการโลจิสติกส์ธุรกิจ (Business Logistics Management)" ไว้ต่าง ๆ นานามากมายในที่นี้ผู้เขียนขอคัดเลือกเฉพาะจาก Oak Brook, IL : Council of Logistic Management , 1993 ประเทศออสเตรเลียที่เห็นว่าชัดเจนและครอบคลุมเนื้อหาดีกล่าวคือ

การจัดการโลจิสติกส์ธุรกิจ หมายถึง กระบวนการวางแผน การปฏิบัติการและการควบคุม การเคลื่อนย้าย และการจัดเก็บสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมถึงการให้บริการและสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่จุดกำเนิดจนถึงจุดการบริโภคสินค้า เพื่อวัตถุประสงค์ในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า

Business Logistics Management is the Process of Planning, Implementing and Controlling the efficient , Effective flow and storage of Storage of Goods , Services and Related Information From Point of Origin to Point of Conforming to Customer Requirements

http://www.jb-mhg.com/elibrary/logistic.htm

ประเภทของการจัดการโลจิสติกส์

ประเภทของการจัดการโลจิสติกส์

การจัดการโลจิสติกส์สามารถแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ตามลักษณะของบทบาทหน้าที่มหภาคของประเทศได้ดังนี้
1. การจัดการโลจิสติกส์ด้านการทหาร(Military Logistics Management)
หมายถึงการจัดการการจัดส่งกำลังบำรุงด้านการทหาร เช่น ยุทโธปกรณ์ ปัจจัยสี่ การรักษาพยาบาลและสารสนเทศ เพื่อมุ่งหวังชัยชนะทางทหารเป็นสำคัญ

2. การจัดการลอจิสติกส์ด้านวิศวกรรม(Engineering Logistics Management)
หมายถึงการจัดการด้านการวิศวกรรมจัดส่งลำเรียง อันได้แก่การสร้าง การบูรณาการและการบำรุงรักษาสาธารณูปการ ทั้งระบบขนส่งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และทางท่อ ระบบการจัดเก็บและระบบสารสนเทศ เพื่อมุ่งหวังความพร้อมในระบบการจัดเก็บและการจัดส่งลำเรียงทั้งระบบเป็นสำคัญ

3. การจัดการโลจิสติกด้านธุรกิจ(Business Logistics Management)
หมายถึงการจัดการด้านการจัดเก็บและจัดส่งสินค้า คน สัตว์ สิ่งของ จากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งตามที่มนุษย์ต้องการ เพื่อมุ่งหวังความสำเร็จทางธุรกิจเป็นสำคัญ

http://www.jb-mhg.com/elibrary/logistic.htm

การจัดการโลจิสติกส์

การจัดการโลจิสติกส์จะเน้นไปที่การเชื่อมโยงระหว่างกิจกรรมตั้งแต่ขั้นตอนในการจัดหาวัตถุดิบ ( Raw Material) สินค้า (Goods) และบริการ (Services) การเคลื่อนย้ายจากต้นทาง (Source of Origin) ไปยังผู้บริโภคปลายทาง (Final Destination) ได้ทันเวลา (Just in Time) และมีประสิทธิภาพ โดยมีการสร้างระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การแปลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ และติดตั้งซอฟท์แวร์ที่ทันสมัย เพื่อช่วยในการบริหารจัดการ

ที่มา : วารสารส่งเสริมการลงทุน ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม 2548

การจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Mannagement)
มีกำเนิดมาจากกองทัพอังกฤษก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 มีการจัดระบบการส่งกำลังบำรุงทางทหาร มีการสร้างสาธารณูปการ เช่น ถนน รถไฟ ท่าเรือ สนามบิน สถานที่จัดเก็บสินค้า รวมทั้งยานพาหนะที่ใช้ในการลำเรียงอาวุธยุทโธปกรณ์ การจัดการโลจิสติกส์มีการวิวัฒนาเรื่อยมาจนถึงปลายศตวรรษที่19
สหรัฐอเมริกาได้เริ่มมีการกระจายสินค้าด้านพืชผลทางการเกษตรก็มีการแลกเปลี่ยนสินค้าโภคภัณฑ์กันอย่างแพร่หลายทั่วทวีปอเมริกา ต่อมาประมาณปี ค.ศ. 1870 ก็มีการจัดรูปแบบการกระจายสินค้าด้านอุตสาหกรรมมาขึ้นเป็นลำดับ และในปี ค.ศ. 1961 ปีเตอร์ ดรักเกอร์ ไ
ด้แต่งตำราเรื่อง "The Economy's Dark Continent" ได้กล่าวถึงบทบาทสำคัญของการจัดการโลจิสติกส์ต่อระบบเศรษฐกิจโลกในยุคนั้น ต่อมาปี ค.ศ. 1964 ก็ได้เกิดศาสตร์ทางด้านการจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management Science) อย่างเป็นทางการขึ้นที่สหรัฐอเมริกาส่วนในภาคเอกชน ก็ได้นำเอาแนวคิดการจัดการโลจิสติกส์มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจให้เจริญก้าวหน้าสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน และแนวโน้มอนาคตก็ยิ่งจะมีบทบาทสำคัญมากขึ้นเป็นลำดับตามกระแสการแข่งขันของยุคโลกาภิวัฒน์

http://www.jb-mhg.com/elibrary/logistic.htm

คำศัพท์โจสติกส์ DHL



A
Added-value processes/services
บริการเสริม / กระบวนการเสริม
บริการเสริมหรือกระบวนการที่ดำเนินการเพิ่มเติมให้แก่สินค้าและบริการเพื่อเพิ่มมูลค่าแก่ลูกค้าทั้งภายในและภายนอก
Aftermarket
กระบวนการหลังการขาย
กิจกรรมที่ดำเนินการภายหลังกระบวนการขาย เช่น การจัดส่งอะไหล่ทดแทนหรืออะไหล่บริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในอุตสาหกรรมรถยนต์
Airfreight
การขนส่งทางอากาศ
การขนส่งสินค้าทางอากาศ


B
Backstage areas
ส่วนหลังร้าน
พื้นที่ด้านหลังร้านหรือห้าง ซึ่งใช้เป็นที่จัดเก็บสินค้า และดำเนินการด้านลอจิสติกส์
Bonded warehouse
คลังสินค้าทัณฑ์บน
จุดหรือศูนย์รวบรวมสินค้าที่ได้รับมอบหมายจากศุลกากรให้จัดเก็บสินค้า การชำระค่าธรรมเนียมและภาษีของสินค้าเหล่านี้จะทำได้ก็ต่อเมื่อสินค้าดังกล่าวได้รับการขนย้ายจากคลังแล้วเท่านั้น
Box car
รถกล่อง
รถขนส่งที่ปิดมิดชิด
Bulk container
คอนเทนเนอร์ยักษ์
ตู้คอนเทนเนอร์ขนาดใหญ่ที่ได้รับการออกแบบขึ้นเพื่อบรรทุกสินค้าปริมาณมาก


C
Campus
ศูนย์กระจายสินค้าร่วม
จุดที่ศูนย์กระจายสินค้าหลายแห่งใช้ทรัพยากรต่าง ๆ เช่น พนักงาน และการขนส่งร่วมกัน เพื่อประสิทธิผลด้านเวลาและค่าใช้จ่าย ดูเพิ่มเติมใน ศูนย์กระจายสินค้าสำหรับผู้ใช้หลายราย (Distribution Centre; multi-user)
Consignment
สินค้าขนส่ง
สินค้าหนึ่งรายการหรือมากกว่าที่ผู้ขนส่งได้รับดำเนินการจัดส่งภายในระยะเวลาที่กำหนด
Consolidation
การรวบรวมสินค้า
การรวบรวมสินค้าตั้งแต่สองรายการขึ้นไปเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง
Consolidation Centre
คลังรวบรวมสินค้า
คลังที่ดำเนินการบรรจุหีบห่อสินค้ารวมเป็นหน่วยใหญ่ขึ้นเพื่อดำเนินการจัดส่งต่อไป
Container
ตู้คอนเทนเนอร์
ตู้โลหะขนาดใหญ่ที่ปิดมิดชิด และสามารถนำไปใช้ใหม่ได้ ใช้เพื่อการขนส่งสินค้าทางทะเลและทางรถไฟ
Contract logistics
บริการรับเหมาด้านลอจิสติกส์
กระบวนการที่ผู้ประกอบการมอบหมายให้บริษัทภายนอกดูแลการบริหารจัดการสินค้า การจัดเก็บ บริการโอนย้ายข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยส่วนใหญ่แล้วจะดำเนินการภายใต้สัญญาระยะยาวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการและบริหารจัดการได้ดียิ่งขึ้น
Control Tower
ระบบบริหารซัพพลายเชน
กลุ่มบริการด้านข้อมูลซึ่งใช้ในการบริหารจัดการกิจกรรมด้านซัพพลายเชน แทนลูกค้าหรือซัพพลายเออร์ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Logistics Control Tower (LCT)
Cross-dock/docking
การขนส่งแบบเทียบท่า
การขนส่งสินค้าโดยตรงจากจุดที่รับสินค้าไปยังจุดจัดส่งสินค้า โดยข้ามคลังจัดเก็บสินค้าไป วิธีการขนส่งเช่นนี้ใช้เพื่อลดค่าใช้จ่ายและระยะเวลาในการขนส่งสินค้าอุปโภคบริโภคแบบซื้อง่ายขายคล่องและสินค้าที่เน่าเสียได้ง่าย
Customs brokingบ
ริการพิธีการศุลกากร
บริการดูแลด้านพิธีการศุลกากรในการนำเข้าและส่งออกสินค้าแทนผู้นำเข้าหรือส่งออก
Cut, make and trim (CMT)
บริการตกแต่งสินค้า
บริการบริหารการขนส่งและจัดการด้านพิธีการศุลกากรเพื่อสินค้าและวัตถุดิบใน อุตสาหกรรมแฟชั่นตามกระบวนการเพื่อหลีกเลี่ยงค่าธรรมเนียมศุลกากร


D
Demand chain
ห่วงโซ่อุปสงค์
กระบวนการจัดส่งที่ตรงกันข้ามกับกระบวนการจัดส่งกำลังบำรุงหรือซัพพลายเชน โดยกระบวนการที่เกี่ยวข้องนั้นเปลี่ยนมาเป็นเริ่มจากอุปสงค์ของลูกค้าแทน ห่วงโซ่อุปสงค์นั้นดำเนินไปตามความต้องการของผู้บริโภคมากกว่าของผู้ผลิตสินค้าค้า ดูเพิ่มเติม pull replenishment
Dispatch
การปล่อยสินค้า
การลำเลียงตู้คอนเทนเนอร์ขึ้นบนพาหนะขนส่งหรือจำนวนเงินที่จ่ายให้กับผู้ขนส่งเพื่อจ้างให้ขนส่งสินค้า
Distribution
การกระจายสินค้า
กระบวนการจัดเก็บและขนส่งสินค้าสำเร็จรูปจากแหล่งผลิตไปยังผู้บริโภค
Distribution Centre (DC)
ศูนย์กระจายสินค้า
ศูนย์ที่ดำเนินการรับวัตถุดิบ ส่วนประกอบ หรือสินค้าสำเร็จ มาแยกประเภท และบรรจุรวบรวมใหม่เพื่อจัดส่งให้แก่ลูกค้า ศูนย์กระจายสินค้าหลายแห่งยังให้บริการด้วยอุปกรณ์การจัดเก็บหรือดูแลพิเศษ รวมทั้งยังมีระบบสารสนเทศ และทำหน้าที่เป็นคลังสินค้าด้วย
Drop shipment
การขนส่งโดยไม่ผ่านผู้ค้าส่ง
การขนส่งสินค้าโดยตรงจากผู้ผลิตไปยังผู้ค้าหรือผู้บริโภคโดยไม่ผ่านผู้ค้าส่ง
Domestic Distribution Networks (DDN)
เครือข่ายกระจายสินค้าภายใน
การจัดเก็บสินค้าและการกระจายสินค้าสู่ห้างร้าน ดูเพิ่มเติม Regional distribution networks (RDN)


E
Electronic data interchange (EDI)
ระบบ EDI
ระบบการส่งข้อมูลระหว่างระบบคอมพิวเตอร์ของสองบริษัท ซึ่งรวมถึง ข้อมูลในเอกสารประเภทใบสั่งซื้อและใบเรียกเก็บเงิน
End-to-end
กระบวนการลอจิสติกส์ครบวงจร
กระบวนการดำเนินการด้านลอจิสติกส์แบบครบวงจร การบริหารซัพพลายเชนแบบครบวงจรเริ่มตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบและการขนส่งสินค้าจากแหล่งไปยังผู้บริโภคปลายทาง
End-of-life
สินค้าหมดอายุ
สินค้าที่หมดอายุที่สามารถวางจำหน่ายได้ รวมถึงสินค้าที่ตกรุ่น หรือสินค้าที่ชำรุดไม่สามารถซ่อมแซมได้
European article number (EAN)
รหัส EAN
การเข้ารหัสเพื่อใช้ระบบ Efficient Consumer Response (ECR) เพื่อช่วยให้สามารถขนส่งสินค้าได้อย่างรวดเร็วขึ้นและลดค่าใช้จ่ายในธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค

F

Fourth-party logistics provider (4PL)
ผู้ให้บริการบริหารจัดการและประสานงานด้านซัพพลายเชนบุคคลที่ 4
ผู้ให้บริการบริหารจัดการและประสานงานด้านซัพพลายเชนซึ่งมักจะไม่ได้มีสินทรัพย์หรือทรัพยากรในการประกอบการด้านดังกล่าวเป็นของตนเอง เมื่อทำหน้าที่ผู้ให้บริการบริหารจัดการและประสานงานด้านซัพพลายเชน (lead logistics provider - LLP) ผู้ให้บริการดังกล่าวอาจทำหน้าที่ประสานงาน และดูแลบริการของผู้ให้บริการรายอื่น ๆ ให้สอดคล้องกัน โดยมีบริการสนับสนุนหรือบริการเสริมอื่น ๆ
Free Trade Zone (FTZ)
เขตการค้าเสรี
พื้นที่อุตสาหกรรมหรือการค้าใกล้ท่าขนส่งซึ่งสินค้าและวัตถุดิบที่นำเข้าไม่จำเป็นต้องเสียภาษีศุลกากรหรือค่าธรรมเนียม
Freight forwarder
ผู้ให้บริการขนส่งระหว่างประเทศ
บริษัทซึ่งให้บริการรับสินค้า รวบรวมสินค้า ขนส่ง และกระจายสินค้าไปยังต่างประเทศ โดยปกติแล้ว ผู้ให้บริการขนส่งระหว่างประเทศมักจะให้บริการด้านพิธีการศุลกากร จัดเตรียมเอกสาร และดำเนินการขนส่ง จัดเก็บสินค้า และจัดส่งสินค้าด้วย
Freight management
การบริหารจัดการการขนส่ง
การบริหารจัดการผู้ให้บริการขนส่งบุคคลที่สามเพื่อให้แน่ใจว่าการขนส่งสินค้าจะดำเนินไปอย่างรวดเร็ว ถึงที่หมายโดยปลอดภัย และมีประสิทธิภาพคุ้มค่า โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะเกี่ยวข้องกับการดูแลให้บริการต่าง ๆ ดำเนินไปอย่างสอดคล้องและมีประสิทธิภาพ
Freight Transport Association (FTA)
สมาคมขนส่งระหว่างประเทศ (เอฟทีเอ)
สมาคมทางการค้าในอังกฤษซึ่งทำหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ในการขนส่งสินค้าของบริษัทต่าง ๆ ที่ดำเนินการขนส่งสินค้าโดยทางอากาศ ทางรถไฟ ทางรถและทางทะเล
Full-truck-load (FTL)
การขนส่งแบบเต็มคันรถ
การขนส่งสินค้าที่ใช้พื้นที่เต็มคันรถ

G
Garments on hangers (GOH)
ตู้แบบมีราวแขวน
ตู้คอนเทนเนอร์แบบมาตรฐานที่มีการติดตั้งราวแขวนและตู้เพื่อเก็บเสื้อผ้าอย่างดี เพื่อให้สามารถนำไปแขวนในร้านค้าได้ทันที
Globalisation
โลกาภิวัฒน์
ระบอบการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งระบบเศรษฐกิจของแต่ละประเทศมีความเกี่ยวพันกัน

H
Home delivery
บริการจัดส่งถึงที่
บริการขนส่งสินค้าถึงยังสถานที่ที่ลูกค้าเลือก (รวมถึงสำนักงาน) บริการดังกล่าวถือเป็นการดำเนินการตามการสั่งซื้ออย่างหนึ่ง ส่วนใหญ่แล้วการขายผ่านทางระบบอี คอมเมิร์ซมักจะให้บริการจัดส่งถึงที่ด้วย

I
International Air Transport Association (IATA)
สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA)
สมาคมทางการค้าที่ดูแลสายการบิน รัฐบาล ผู้โดยสาร ผู้ขนส่ง และตัวแทนท่องเที่ยว
Inbound logistics
ลอจิสติกส์สินค้าขาเข้า
กระบวนการขนส่งวัตถุดิบและส่วนประกอบจากซัพพลายเออร์หรือผู้ค้าไปยังฐานการผลิตและคลังจัดเก็บ ลอจิสติกส์สินค้าขาเข้าระหว่างประเทศ หมายถึงการบริหารจัดการกระบวนการซัพพลายเชนสินค้าขาเข้าระหว่างประเทศแทนผู้ค้าปลีก
Inbound-to-manufacturing
การจัดหาและจัดส่งจากแหล่งสู่โรงงานผลิต
การจัดหาและจัดส่งสินค้าจากแหล่งไปยังโรงงานผลิต
In-store logistics
ลอจิสติกส์สำหรับห้างร้าน
บริการก่อนการค้าปลีกภายในห้างร้าน โดยส่วนใหญ่มักจะเป็นกิจกรรมในส่วนพื้นที่หลังร้าน บริการเหล่านี้รวมถึงการสั่งสินค้าคืนสต็อก การจัดเก็บสินค้าและการบรรจุหีบห่อ
Integrated logistics/supply chain
ลอจิสติกส์ / ซัพพลายเชนแบบครบวงจร
การบริหารองค์ประกอบด้านซัพพลายเชนหลาย ๆ อย่างแบบบูรณาการอย่างครบวงจรในระดับโลกหรือระดับภูมิภาค เพื่อให้สามารถบริหารจัดการด้านซัพพลายเชนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และประหยัดค่าใช้จ่าย
Intermodal
การขนส่งหลายวิธี
การขนส่งสินค้าโดยใช้วิธีการขนส่งหลายทางผสมผสานกัน โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นการขนส่งด้วยรถบรรทุกและรถไฟ ลอจิสติกส์หรือซัพพลายเชนสินค้าขาเข้าระหว่างประเทศ ดู inbound logistics
Inventory
รายการบัญชีสินค้า
รายการวัตถุดิบ ส่วนประกอบ งานที่กำลังดำเนินการ สินค้าสำเร็จรูป หรือทรัพยากรอื่น ๆ


J
Just-in-time
การดำเนินการแบบพอดีเวลา
กิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งรวมถึง การขนส่ง ซึ่งดำเนินการให้แล้วเสร็จทันเวลาตามกำหนดการในการผลิตหรือกำหนดการในการขนส่งให้แก่ลูกค้าพอดี เทคนิคดังกล่าวช่วยเพิ่มกำไรให้กับบริษัทมากยิ่งขึ้น โดยช่วยลดบัญชีรายการสินค้าที่กำลังดำเนินการอยู่และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Just-in-sequence

K
Kerbside
การรับ-ส่งสินค้าจากกลางทาง
การขนส่งไปยัง และ/หรือการรับสินค้าที่จะขนส่งจากกลางทาง
Kitting
การประกอบสินค้า
การประกอบชิ้นส่วนสินค้าเพื่อให้เป็นสินค้าเพื่อผู้บริโภคเพียงชิ้นเดียว

L
Last 50 yards/final mile
จุดขนสินค้าไปยังที่หมาย
บริเวณที่ทำการขนส่งสินค้าจากหลังยานพาหนะที่บรรทุกไปยังห้างร้านหรือบ้านเรือน
Lead logistics provider/partner (LLP)
ผู้ให้บริการประสานงานและบริหารจัดการผู้ให้บริการด้านลอจิสติกส์ ดูใน 4PL
Less-than-truckload (LTL)
การบรรทุกแบบไม่เต็มคันรถ
สินค้าที่มีปริมาณไม่มาก บรรทุกไม่เต็มคันรถมาตรฐาน
Linehaul
การขนส่งทางบกถึงท่าขนส่ง
การขนส่งทางบก โดยทางรถหรือทางรถไฟ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การขนส่งจากท่าส่งสินค้าต้นทางไปยังท่ารับสินค้าปลายทาง
Logistics
ลอจิสติกส์
กระบวนการวางแผน ดำเนินการ และควบคุมให้สามารถบริหารจัดการและจัดเก็บวัตถุดิบ สินค้าคงคลังที่ยังดำเนินการอยู่ สินค้าสำเร็จรูป และข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลคุ้มค่า จากแหล่งต้นทางไปยังปลายทางเพื่อการบริโภคของผู้บริโภค พูดง่าย ๆ ก็คือ ศาสตร์และศิลป์ในการบริหารจัดการให้สินค้าที่เหมาะสมไปถึงที่หมายที่เหมาะสม ในปริมาณที่เหมาะสม ภายในเวลาที่เหมาะสมเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า กระบวนการลอจิสติกส์ประกอบด้วย การจัดเก็บสินค้า การขนส่ง บริการเสริมและบริการก่อนการค้าปลีก รวมถึงบริการสารสนเทศต่าง ๆ และครอบคลุมการบริหารจัดการสินค้าขาเข้า สินค้าขาออก สินค้าภายในประเทศ สินค้าระหว่างประเทศ รวมถึงการบริหารสินค้าคืน
Logistics re-engineering
การปรับปรุงระบบลอจิสติกส์
การศึกษาและปรับปรุงกระบวนการลอจิสติกส์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
Logistics service provider (LSP)
ผู้ให้บริการด้านลอจิสติกส์
องค์กรที่ให้บริการด้านลอจิสติกส์ที่เป็นบุคคลที่ 3 หรือบุคคลที่ 4
Logistics Control Tower (LCT)
ระบบบริหารข้อมูลด้านลอจิสติกส์ ดู Control TowerLogistics outsourcingการรับเหมาดำเนินการด้านลอจิสติกส์ ดูใน outsourcing

M
Merge in transit
การขนส่งแบบไม่ผ่านคลังสินค้า
โครงสร้างด้านลอจิสติกส์ที่ดำเนินการขนส่งสินค้าที่ได้มีการรวบรวมและบรรจุหีบห่อแล้ว โดยไม่ผ่านคลังกระจายสินค้า จากผู้ผลิตหรือซัพพลายเออร์มากกว่าหนึ่งรายไปยังผู้บริโภค
Multi-modal
การขนส่งหลายทาง
การขนส่งสินค้าที่ใช้วิธีการขนส่งอย่างน้อยสองวิธีขึ้นไป
Multi-user
คลังสินค้าร่วม
ส่วนใหญ่แล้วมักจะหมายถึงคลังสินค้าที่ผู้ผลิตหรือองค์กรมากกว่าหนึ่งรายใช้ร่วมกัน

N
National Distribution Centre (NDC)
ศูนย์กระจายสินค้าระดับชาติดูใน Distribution Centre (DC)

O
Origin services
บริการ ณ ต้นทาง
บริการเสริมหรือบริการสนับสนุนต่าง ๆ ณ จุดต้นทางที่ดำเนินการขนส่งสินค้าหรือวัตถุดิบ ซึ่งอาจรวมถึง การจัดซื้อ การบริหารการสั่งซื้อ การดำเนินการตามกฎระเบียบสำหรับผู้ค้า การตรวจสอบคุณภาพ การบริหารจัดการเอกสาร การดูแลการบรรทุกสินค้าให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การบรรจุสินค้าตามใบสั่ง การบรรทุกสินค้าเป็นแพ็คใหญ่ การดำเนินการด้านพิธีการศุลกากรและการรวบรวมสินค้า
Outbound logistics
ลอจิสติกส์สินค้าขาออก
ดูใน distributionOutsourcingการรับเหมาดำเนินการการว่าจ้างบริษัทภายนอกให้รับเหมาดำเนินงานซึ่งบริษัทพิจารณาว่าไม่ใช่ธุรกิจหลักของบริษัท โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การรับเหมาดำเนินการด้านลอจิสติกส์
Outward Processing Relief (OPR)
กระบวนการจัดการสินค้าเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี
การบริหารจัดการการขนส่งและการดำเนินพิธีการศุลกากรของสินค้าหรือวัตถุดิบตามกระบวนการเพื่อหลีกเลี่ยงภาษีและค่าธรรมเนียม

P
Pallet
กุรุส
ถาดไม้แบนขนาดใหญ่ที่ต้องใช้รถยกเพื่อบรรทุกสินค้า ใช้ในการขนส่งสินค้า
Pick-and-pack
การบรรจุหีบห่อตามใบสั่ง
กระบวนการเลือกรายการสินค้าตามใบสั่งของลูกค้าและบรรจุหีบห่อเพื่อดำเนินการขนส่งต่อไป
Pre-retailing
บริการก่อนการค้าปลีก
กระบวนการเตรียมสินค้า ณ ศูนย์กระจายสินค้าเพื่อส่งต่อไปยังหรือเพื่อจัดแสดง ณ ร้านค้าปลีก กระบวนการดังกล่าว รวมถึง การแกะหีบห่อที่ขนส่งออก การนำเสื้อผ้าออกจากกล่องไปแขวนบนราว การติดป้าย การติดรหัสสินค้า และการประกอบสินค้าให้สามารถจัดเก็บในร้านได้
Pre-shipping
กระบวนการก่อนจัดส่ง
กิจกรรมต่าง ๆ ที่ดำเนินการก่อนจะจัดส่งสินค้าทางทะเล
Pull replenishment
การจัดส่งสินค้าตามความต้องการของลูกค้า
การบริหารจัดการวัตถุดิบหรือสินค้าตามความต้องการของลูกค้าปลายทาง ดูเพิ่มเติม demand chain

Q
ไม่มีศัพท์ที่ขึ้นต้นด้วยอักษรนี้

R
Railfreight
การขนส่งสินค้าทางรถไฟ
การขนส่งสินค้าโดยทางรถไฟ
Roadfreight
การขนส่งสินค้าทางรถ
การขนส่งสินค้าทางรถ
Real-time
การรายงานผล
ในขณะที่ดำเนินการการรายงานผลแบบทันเหตุการณ์ ระบบการรายงานผลในขณะที่ดำเนินการทำให้สามารถควบคุมสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างทันท่วงที มักใช้กับการติดตามสถานะการขนส่ง ดูเพิ่มเติม track-and-trace
Roadside
การรับ-ส่งสินค้าจากกลางทาง
ดูใน kerbsideReverse logisticsการบริหารสินค้าคืนกระบวนการรับสินค้า บริหารจัดการ และขนส่งสินค้าและ/หรือ บรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้ว เสียหาย ไม่เป็นที่ต้องการ หรือหมดอายุการใช้งานเพื่อกำจัดทิ้ง นำมาใช้ใหม่ หรือซ่อมแซม กระบวนการดังกล่าวอาจรวมถึงการส่งอุปกรณ์ในการจัดส่งที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้คืนไปยังแหล่งต้นทางได้อีกด้วย (เช่น กุรุสไม้ ตู้คอนเทนเนอร์ เป็นต้น)
RFID/smart labels
ป้ายรหัสคลื่นวิทยุRFID
คือป้ายรหัสคลื่นวิทยุ ซึ่งเป็นระบบที่ใช้คลื่นวิทยุแสดงถึงสถานที่จัดเก็บสินค้าผลิตภัณฑ์ที่เก็บรวมเป็นล็อตใหญ่ หรือสินทรัพย์ในการขนส่งอื่น ๆ โดยใช้ป้ายอิเล็กทรอนิกส์แบบพิเศษ ป้ายดังกล่าว ซึ่งเรียกกันว่า ป้าย smart labels หรือ intelligent tags ทำให้สามารถติดตามสินค้าหรือสินทรัพย์ต่าง ๆ ได้โดยอัตโนมัติ ตลอดทั้งกระบวนการซัพพลายเชน ป้ายรหัสคลื่นวิทยุ RFID ยังสามารถช่วยลดการใช้ทรัพยากรในการบริหารจัดการสินค้า เพิ่มประสิทธิผล ช่วยให้ใช้พื้นที่ในการจัดเก็บสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และป้องกันความผิดพลาดในการขนส่งและทำให้สามารถควบคุมการขนส่งได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น Routingการจัดเส้นทางกระบวนการวางแผนเส้นทางสินค้าที่จะขนส่ง
Re-working/Re-packing
การปรับแต่งสินค้า / บรรจุหีบห่อใหม่
การบรรจุหีบห่อใหม่ให้แก่ลูกค้าบางราย อาจหมายถึง การจัดหีบห่อสินค้าใหม่ ส่วนการปรับแต่งสินค้าหมายถึงการปรับแต่งสินค้าเพื่อให้เหมาะกับความต้องการของตลาดท้องถิ่น
Regional Distribution Networks (RDN)
ศูนย์กระจายสินค้าส่วนภูมิภาค
ศูนย์จัดเก็บและกระจายสินค้าไปยังห้างร้านต่าง ๆ ดูเพิ่มเติม Domestic Distribution Networks

S
Seafreight
การขนส่งสินค้าทางทะเล
การขนส่งสินค้าทางทะเล
Service logistics
ลอจิสติกส์ด้านการบริการ
กิจกรรมด้านลอจิสติกส์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการชิ้นส่วนบริการระหว่างผู้ผลิตและลูกค้า
Shared-user
คลังสินค้าร่วม
ดูใน multi-userSourcingการจัดหาสินค้าการจัดหาแหล่งและจัดซื้อสินค้าและผลิตภัณฑ์จากแหล่งผลิต
Sub-assembly
การประกอบสินค้า
กระบวนการประกอบชิ้นส่วนเข้าด้วยกันเพื่อประกอบสินค้าสำเร็จรูป
Supply chain
ซัพพลายเชน
การจัดการกลุ่มทรัพยากรและกระบวนการต่าง ๆ ให้ดำเนินการอย่างสอดคล้องเป็นกระบวนการเดียวกัน ตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบและจบลงด้วยการจัดส่งสินค้าให้แก่ผู้บริโภคปลายทาง กระบวนการดังกล่าวครอบคลุมถึงผู้ค้า สถานที่ผลิต ผู้ให้บริการด้านลอจิสติกส์ ศูนย์กระจายสินค้าภายใน ผู้กระจายสินค้า ผู้ค้าส่งและตัวกลางการค้าอื่น ๆ ดูเพิ่มเติม demand chain
Supply chain management
การบริหารจัดการซัพพลายเชน
การควบคุมกระบวนการซัพพลายเชนให้ดำเนินไปอย่างสอดคล้องกัน ตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบจากผู้ค้า ไปจนถึงการแปรรูปเป็นสินค้าสำเร็จ และการจัดส่งไปยังผู้บริโภคปลายทาง กระบวนการดังกล่าวครอบคลุมถึงการแบ่งปันข้อมูล การวางแผน การจัดการทรัพยากรให้สอดคล้องกัน และการประเมินผลอย่างครบวงจรตลอดกระบวนการ
Supply chain re-engineering
การปรับปรุงกระบวนการซัพพลายเชน
การปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการซัพพลายเชน โดยหนึ่งในงานหลักก็คือการประเมินความมีประสิทธิภาพคุ้มค่าในการดำเนินการเพื่อให้แน่ใจว่าค่าใช้จ่ายในกระบวนการซัพพลายเชนจะลดลง ตลอดระยะเวลาที่มีสัญญาการดำเนินงาน
Strategic parts centres
ศูนย์อะไหล่เชิงกลยุทธ์ศูนย์
อะไหล่เชิงกลยุทธ์ (Strategic Part Centres - SPCs) เป็นศูนย์ภายในประเทศที่ให้บริการ
การจัดส่งสินค้าตามใบสั่งภายใน 1, 2 และ 4 ชั่วโมง
การบริหารสินค้าคงคลังอย่างมีประสิทธิภาพที่สุดทั่วเครือข่ายของศูนย์อะไหล่เชิงกลยุทธ์
รับประกันในประสิทธิภาพการดำเนินงานตามข้อตกลงทางธุรกิจที่ได้ตกลงไว้

T
TEU
ตู้ขนาด 20 ฟุต
ตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 20 ฟุต ซึ่งถือเป็นตู้คอนเทนเนอร์ในการขนส่งทางทะเลขนาดมาตรฐาน
Temperature-controlled
การเก็บรักษาสินค้าด้วยการควบคุมอุณหภูมิ
การเก็บรักษาสินค้าในอุณหภูมิที่เหมาะสมกับสภาพของสินค้า เช่น สินค้าแช่แข็งหรือสินค้าที่ต้องเก็บในที่เย็น
Third party logistics provider (3PL)
ผู้ให้บริการลอจิสติกส์บุคคลที่ 3
ผู้ให้บริการด้านลอจิสติกส์ที่มักจะใช้ทรัพยากรหรือสินทรัพย์ของตนเองในการให้บริการ
Time-definite
บริการขนส่งภายในเวลาที่กำหนด
บริการขนส่งหรือจัดส่งสินค้าภายในหนึ่งวันหรือภายในช่วงเวลาที่กำหนด
Track-and-trace
การติดตามสถานะการขนส่ง
กระบวนการติดตามความคืบหน้าในการขนส่งสินค้าในกระบวนการซัพพลายเชน ซึ่งมักจะเป็นการรายงานผลแบบทันเหตุการณ์ในขณะที่ดำเนินการ หรือใกล้เคียงกับเวลาที่ดำเนินการ เพื่อติดตามสถานะของสินค้าที่ทำการขนส่ง โดยมีระบบบริหารข้อมูลด้านลอจิสติกส์อันทันสมัยเป็นศูนย์ควบคุม และสั่งการการบริหารจัดการซัพพลายเชนจากส่วนกลาง โดยรับทราบข้อมูลและสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้องและทันท่วงที
Transload
การบรรทุกสินค้าแบบย้ายตู้
การย้ายสินค้าจากตู้คอนเทนเนอร์บรรทุกสินค้าขนาด 40 ฟุตไปบรรทุกในตู้ขนาด 53 ฟุตที่ขนส่งโดยรถบรรทุก เพื่อลดค่าใช้จ่ายต่อหน่วย และเพื่อให้ขนส่งได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้นและไม่ผิดพลาด
Truckload
การบรรทุกสินค้า
ใส่คันรถดู FTL และ LTL

U
Upstream
ลอจิสติกส์ต้นน้ำ
ดู reverse logisticsUnit costค่าใช้จ่ายต่อหน่วยค่าใช้จ่ายทั้งหมดต่อสินค้าหนึ่งหน่วยThe total cost of producing a single unit

V
Value-added services
บริการเสริม
ดู added-value servicesVendor consolidationการรวบรวมสินค้าจากผู้ค้ากระบวนการบริหารผู้ค้าหลายรายเพื่อรวบรวมสินค้าที่บรรทุกแบบเต็มคันรถจากหลายแหล่งเพื่อดำเนินการขนส่งในครั้งเดียวเพื่อลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่ง
Vendors
ผู้ค้า
ผู้ค้าสินค้าและบริการ
Visibility
ความสามารถในการติดตามสถานะการขนส่งได้อย่างโปร่งใส
ความสามารถในการติดตามและรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการบริหารจัดการซัพพลายเชนได้โดยละเอียด อย่างทันท่วงที ในขณะที่ดำเนินการหรือใกล้เคียงกับเวลาที่ดำเนินการ

W
Warehouse/warehousing
คลังจัดเก็บสินค้าดู distribution centre

X
ไม่มีศัพท์ที่ขึ้นต้นด้วยตัวอักษรนี้

Y
ไม่มีศัพท์ที่ขึ้นต้นด้วยตัวอักษรนี้

Z
ไม่มีศัพท์ที่ขึ้นต้นด้วยตัวอักษรนี้