แนวทางการพัฒนาระบบข้อมูลสื่อสารในประเทศไทยด้วยระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ EDI ได้ถูกริเริ่มกันมาเป็นเวลานานกว่า 10 ปี จนเมื่อวันที่19 กันยายน พ.ศ. 2538 คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้จัดตั้งบริษัทผู้ให้บริการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ขึ้น ในนาม บริษัท เทรดสยาม จำกัด โดยมีวัตถุประสงค์หลักที่จะมุ่งเน้นให้ บริษัท เทรดสยาม จำกัด เป็นองค์กรกลางที่ให้บริการ EDI ทางการค้าระหว่างประเทศแก่หน่วยงานทั้งทางภาครัฐบาลและภาคเอกชน นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นให้บริษัทเทรดสยาม จำกัด เป็นศูนย์กลางในการบริการส่งเสริมให้เกิดการใช้ EDI อย่างแพร่หลายโดยเฉพาะในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศ
แนวทางการดำเนินงานของบริษัท เทรดสยาม จำกัด ถูกจัดตั้งขึ้นในรูปของการร่วมทุนระหว่างภาครัฐบาลและภาคเอกชน โดยมีสัดส่วนการลงทุนระหว่างภาครัฐบาล สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และภาคเอกชน ในสัดส่วนคิดเป็น 49:6:45 โดยไม่ให้มีองค์กรใดองค์กรหนึ่งถือหุ้นเกิน 25% เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินงานสามารถปรับตัวตอบสนองความต้องการและการแข่งขันในตลาดการค้าระหว่างประเทศได้อย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกันเพื่อให้ภาครัฐบาลมีบทบาทในการควบคุมและกำกับการดำเนินงานป้องกันการนำข้อมูลที่เกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศซี่งถือเป็นข้อมูลของทางราชการไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม
และนับตั้งแต่วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2540 ที่บริษัท เทรดสยามได้จดทะเบียนจัดตั้งและเริ่มดำเนินการอย่างเป็นทางการ ศูนย์บริการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ จึงได้เริ่มเกิดขึ้นอย่างเต็มรูปแบบในประเทศไทย
ที่มา http://www.tradesiam.com/edi/index.html
25 ตุลาคม, 2550
ความเป็นมาของ EDI ในประเทศไทย
เขียนโดย dekjeed ที่ วันพฤหัสบดี, ตุลาคม 25, 2550
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น