26 ตุลาคม, 2550

บทความด้านโลจิสติกส์จากหนังสือพิมพ์ สยามธุรกิจ

ลอจิสติกส์’เครื่องมือเสริมความสามารถ ทางการแข่งขันธุรกิจในปัจจุบัน ในการดำเนินการธุรกิจทั่วไป ผู้ประกอบ การต่างพยายามหาวิธีลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลงเพื่อให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้ เครื่องมือในการบริหารจัดการที่กำลังเป็นที่สนใจของธุรกิจทั้งหลาย ได้แก่ เครื่องมือทางวิศวกรรมอุตสาหการที่ใช้เพิ่ม ผลผลิต การจัดการโซ่อุปทาน (Supply Chain Management : SCM) และการจัดการลอจิสติกส์ (Logistics Management)

ลอจิสติกส์ (Logistics) หมายถึง กิจกรรมที่มีการเคลื่อนย้าย จัดเก็บสินค้า วัสดุ วัตถุดิบ เอกสาร จากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง ในระยะเวลาชั่วคราวหรือระยะเวลายาวนาน โดยมีความพยายามในการจัดการกิจกรรมต่างๆ เหล่านี้ ให้เกิดค่าใช้จ่ายโดยรวมต่ำที่สุด

ลอจิสติกส์เป็นความรู้สหวิทยาการ ที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาหลักสามสาขาวิชา คือ วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) เกี่ยว ข้องกับ วิศวกรรมอุตสาหการ (Industrial Engineering) ในการพิจารณาหาวิธีการเคลื่อนย้ายสินค้า ที่มีประสิทธิภาพมาก ที่สุด ค่าใช้จ่ายต่ำ และรวดเร็วที่สุด และอีกสาขาหนึ่งของวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยว ข้องคือ วิศวกรรมโยธา (Civil Enginee ring) ที่จะพิจารณารูปแบบการขนส่งที่เหมาะ สม และประหยัดพลังงานมากที่สุด บริหารธุรกิจ (Business Administration) เกี่ยวข้องกับการจัดการนโยบายการบริหารธุรกิจที่สัมพันธ์กับลอจิสติกส์และ ยุทธศาสตร์ ภาษี การบัญชี การเงิน ต้นทุน และการตลาดที่เกี่ยวข้อง เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) เกี่ยวข้องในการใช้อุปกรณ์ เครือข่าย โปรแกรมที่จะสนับสนุนกิจกรรม ลอจิสติกส์ให้ดำเนินไปอย่างราบรื่นที่สุด

ลอจิสติกส์ ประกอบด้วยกิจกรรมหลัก 9 กิจกรรมด้วยกัน คือ
-กระบวนการสั่งซื้อและบริการลูกค้า (order management and customer service)
-การหีบห่อบรรจุภัณฑ์ (packaging)
-การเคลื่อนย้ายวัตถุดิบภายในโรงงาน (Material Handling)
-การขนส่ง (transportation)การสินค้าคงคลัง (Inventory Control)
-การจัดการด้านโกดัง (warehouse ma- nagement)
-การจัดซื้อจัดหาวัตถุดิบ (suppliers ma- nagement)
-การกระจายสินค้า (Distribution)
-การผลิตและการจัดตารางผลิตภัณฑ์ (Production Management)
เมื่อพิจารณาจากกิจกรรมหลัก ทั้ง 9 กิจกรรม จะเห็นได้ว่า ลอจิสติกส์ ประกอบด้วยส่วนประกอบ ใหญ่ 3 ส่วน คือ
-ตำแหน่ง ที่ตั้งของสถานที่ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ (Facilities Location)
-การจัดเก็บสินค้า (Warehouse and Inventory)
-การ ขนส่ง (Transport)
การวัดประสิทธิภาพของกระบวน การลอจิสติกส์ การจัดการลอจิสติกส์จะเน้นไปที่การเชื่อมโยงระหว่างกิจกรรมตั้งแต่ขั้นตอน
-การจัดหาวัตถุดิบ (Raw Material)
-สินค้า (Goods)
-บริการ (Services) การเคลื่อน ย้ายจากต้นทาง (Source of Origin) ไปยังผู้บริโภคปลายทาง (Final Destination) โดยประสิทธิภาพของกระบวนการทางลอจิส ติกส์สามารถพิจารณาจากการบริการลูกค้าหรือการจัดส่งสินค้าถึงปลายทางได้ทันเวลา (Just in Time) และมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ การจัดการลอจิสติกส์ขององค์การยังสามารถวัดประสิทธิภาพได้จากเป้าหมายที่สำคัญคือ ความรวดเร็วในการ
-ส่งมอบสินค้า (Speed Delivery)
-ความราบรื่นของการไหลของสินค้าและข้อมูลข่าวสาร (Physical Flow and information Flow)
-การสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added)
-การลดต้นทุนการเก็บรักษาและขนส่งสินค้า (Cargo Cost)
-ความพึงพอใจของลูกค้า (Customer satisfaction)
ลอจิสติกส์ เครื่องมือเสริมความสามารถ ทางการแข่งขันธุรกิจในปัจจุบัน (จบ)คำที่มีความหมายคล้ายคลึงกับลอจิสติกส์ และบางครั้งอาจจะสร้างความสับสนให้แก่ผู้ที่ไม่ได้อยู่ในแวดวงธุรกิจ คือ โซ่อุปทาน
หลักการของโซ่อุปทาน (Supply Chain) คือ การจัดการกับทุกส่วนของ การผลิต ตั้งแต่ผู้ผลิตวัตถุดิบ ผู้ผลิตสินค้า ผู้กระจายสินค้าจนถึงผู้ค้าปลีก ให้มีส่วนร่วม รับผิดชอบในการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า โดยทุกส่วนต้องมีการประสานงาน และแลกเปลี่ยนสารสนเทศกัน โดยสรุปแล้ว กล่าวได้ว่าลอจิสติกส์เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการการจัดการโซ่อุปทาน ที่จะช่วยในการวางแผนสนับสนุนการควบคุมการไหลของกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมทั้งการเก็บรักษาสินค้าจากจุดเริ่มต้น ไปสู่จุดสุดท้าย เพื่อตอบสนองความต้องการ ของลูกค้า ลอจิสติกส์จึงเป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะนำธุรกิจไปสู่การเติบโตที่ยั่งยืนในระยะยาว สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ประมวลการพัฒนาระบบลอจิสติกส์ จากการศึกษาระบบลอจิสติกส์ของประเทศต่างๆ ได้รวม 4 ระดับชั้น คือ
1. การกระจายสินค้าทางกายภาพ (Physical Distribution) เป็นระดับที่ธุรกิจให้ความสำคัญและพัฒนาเน้นด้านของการขนส่งสินค้าจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภค โดยอาจครอบ คลุมกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ การขนส่ง การเก็บสินค้า การจัดการวัสดุ และการบรรจุหีบห่อเพื่อป้องกันการสูญเสียระหว่างการขนส่ง การพัฒนาระดับนี้ยังไม่มุ่งเน้นการลดต้นทุนในส่วนที่เป็นสินค้า คงคลัง เป็นวัตถุดิบ และเป็นสินค้าระหว่างผลิต
2.ลอจิสติกส์ภายในองค์กร (Internally Integrated Logistics) ระดับของธุรกิจที่พัฒนาในระดับนี้ จะรวมกิจกรรมลอจิสติกส์ที่เกิดขึ้นก่อนกระบวนการผลิต มีการเชื่อมโยงการจัดการภายในบริษัทตั้งแต่การรับวัตถุดิบจนถึงการจัดส่งถึงผู้บริโภค โดยมีจุดมุ่งหมายในการเปลี่ยนจากการลดสินค้าคงคลังเป็นเพิ่มความถี่ในการระบายสินค้า การพัฒนาในขั้นตอนนี้จะมีการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
3.ลอจิสติกส์ภายนอก (Externally Integrated Logistics) ระดับการพัฒนาในชั้นนี้จะเป็นการพัฒนาที่มีการเชื่อมโยงใช้รูปแบบการขนส่งทุกรูปแบบอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การมีจุดขนถ่ายสินค้าที่มีมาตรฐานโดยการ เชื่อมโยงฐานข้อมูลและระบบสารสนเทศระหว่างองค์การ
4.ลอจิสติกส์ระดับสากล (Global Lo-gistics Management) การพัฒนาการในระดับนี้จะเกิดในบริษัทข้ามชาติที่กำลังเผชิญกับปัญหากำไร ลดลงในประเทศที่ตนตั้งอยู่ ดังนั้น จึงเริ่มหาแหล่งจัดซื้อที่ถูกกว่าในต่างประเทศ ลักษณะของการพัฒนาในขั้นตอนนี้คือ การจัดซื้อวัตถุดิบและจัดส่งสินค้าจะครอบคลุมแหล่งวัตถุดิบทั่วโลก โดยการสั่งวัตถุดิบจากประเทศที่ขายราคาถูกกว่า เพื่อนำไปผลิตและขายสินค้าสำเร็จรูปโดยการขนส่งไปขายในประเทศที่มีราคาสูง ในส่วนของประเทศไทยระดับการพัฒนาลอจิสติกส์ขององค์การต่างๆ ส่วนใหญ่ยังอยู่ในขั้นเริ่มต้น คืออยู่ในขั้นตอนระหว่างการพัฒนาจากช่วง Physical Distribution เข้าสู่ช่วง Internally Integrated Logistics

ขอขอบคุณ หนังสือพิมพ์ สยามธุรกิจ

ไม่มีความคิดเห็น: